วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

“การรักษาราชการแทน”กับคำว่า “การรักษาการในตำแหน่ง”

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สั่ง ณ วันที่ 3 เม.ย.2560

ข้อ 1. ให้ยกเลิก คําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 10/2559เรื่อง การขับเคลื่อน การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 คําสั่ง ที่ 11 /2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 คําสั่งที่ 38 /2559 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งที่ 10/2559 และคําสั่งที่ 11/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 คําสั่งที่ 1/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหา การบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะข้อ 8

ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ




การปฏิบัติราชการแทน /การรักษาราชการแทน /การรักษาการในตำแหน่ง

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 หมวด 4 การปฏิบัติราชการแทน มาตรา 44-47 หมวด 5 การรักษาราชการแทน มาตรา 48-56 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 68

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547 มาตรา 68 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตำแหน่งนั้นได้

ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมาย หรือมีคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นๆเป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจและหน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจและหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างรักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 68 ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้

ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี

1. รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ได้แก่ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม จะต้องแต่งตั้งราชการให้เป็นผู้รักษาราชการแทน เช่น การแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ให้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม เป็นต้น


2. รักษาการในตำแหน่ง

ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 10 ลงมา ที่มิใช่ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม, จะต้องแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่ง เช่น การแต่งตั้งราชการผู้หนึ่งผู้ใดไปรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน เป็นต้น (ผู้อำนวยการส่วนมิใช่หัวหน้าส่วนราชการ จะใช้คำว่ารักษาราชการแทนไม่ได้)

3. ปฏิบัติราชการแทน
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ ที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด การมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นไปปฏิบัติราชการแทน เช่น อธิบดีมอบอำนาจให้รองอธิบดี, ผู้อำนวยสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม หรือผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง มอบอำนาจให้ข้าราชการในสำนัก/กอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและผู้ที่ลงนามจะลงนามให้เป็นปฏิบัติราชการแทน และการมอบอำนาจนี้ จะมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นอีกต่อไปไม่ได้ ยกเว้น ระเบียบหรือกฎหมายนั้นๆ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ามอบอำนาจต่อได้


4. ทำหน้าที่แทน / แทน
ใช้เฉพาะเป็นการภายใน ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบ

ที่มา : สวัสดิการสำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ. ระเบียบและกฎหมายในการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา : โรงพิมพ์ สกสค, 2554
15 เม.ย. 2557 12:26

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น