วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อินเทอร์เน็ตและเกม

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552 : 69) ได้กล่าวไว้ว่า

เนื่องจากในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อเสรีที่นับวันจะเข้าถึงเด็กและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นสื่อที่มีทั้งคุณและโทษในตัวเอง การปิดกันมิให้เด็กและเยาวชนให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต จะเป็นการปิดโอกาสในการเรียนรู้และก้าวทันโลก แต่ในทางตรงกันข้ามหากปล่อยให้เด็กและเยาวชนเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตอย่างขาดสติ ก็อาจจะทาให้เกิดภัยต่อตัวเด็ก และเยาวชนได้อย่างมากมายเช่นกันในบทบาทของสถานศึกษา จาเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างรอบคอบรัดกุม โดยการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ วิธีการใช้สื่อการเลือกรับและการเรียนรู้จากสื่อย่างรู้เท่าทันชาญฉลาด จากการศึกษาถึงสาเหตุปัจจัยเสี่ยงพิษภัยของสื่อชนิดนี้ อาจสรุปได้ดังนี้

  1. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่มีขอบเขตจากัด จนเป็นผลทาให้สามารถควบคุมการบริโภคของผู้เรียนได้
  2. นักเรียนขาดวิจารณญาณในการบริโภคข่าวสารจากสื่ออินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบ การจัดแบ่งเวลาไม่เหมาะสม
  3. จานวนสถานบันเทิงที่มีจานวนมาก และการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นแรงจูงใจที่สาคัญ ทาให้นักเรียนมีความต้องการสูงและก่อให้เกิดปัญหาการหนีเรียน มั่วสุม
  4. สถาบันครอบครัว ไม่ค่อยมีเวลาว่างในการเอาใจใส่กวดขันในเรื่องการเรียนของบุตรหลาน เป็นผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้น มีเวลามากเกินความจาเป็น
  5. การคบเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่สนใจในการเรียน ชอบหนีเรียนเพื่อไปมั่วสุมในร้านเกม

มาตรการป้องกันและแก้ไข
  1. อบรมให้ความรู้นักเรียนในการเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสาร ภัยจากสื่ออินเทอร์เน็ต หรือร้านเกม Online ที่เหมาะสมพอดีแก่เวลา
  2. จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสนใจ หรือสร้างแรงจูงใจในการแสดงออกทางด้านความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เช่น การประกวดสร้างเว็บไซต์ การสร้างเกมแบบง่ายด้านคอมพิวเตอร์
  3. ประสานความร่วมมือ ผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันกวดขัน ดูแล ตามแหล่งสถานบันเทิง ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านเกม เป็นต้น
  4. ครูฝ่ายปกครองและครูที่ปรึกษา กากับ ติดตาม การมาเรียนของนักเรียนและประสานกับผู้ปกครองในการเดินทางไป –กลับระหว่างบ้านและโรงเรียน
  5. จัดให้บริการอินเทอร์เน็ตกับนักเรียนในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน และให้มีครูควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
  6. ดาเนินการนากลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวมาอบรมให้ความรู้ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตและเกม อย่างไรจึงเหมาะสมและมีคุณค่า
  7. จัดตั้งอาสาสมัครนักเรียนคอยตรวจสอบเว็บไซต์ หรือจัดให้มีการติดตั้งโปรแกรมตรวจจับเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์และแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบ (กระทรวง ICT) เพื่อดาเนินการแก้ไขต่อไป
  8. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตารวจหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อติดตามตรวจสอบร้านอินเทอร์เน็ต ร้านเกม ที่ให้บริการนักเรียนในช่วงเวลาเรียน
  9. จัดกิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับนักเรียน เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต      ที่เหมาะสมและถูกต้อง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่ามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการด้านความปลอดภัยของโรงเรียน เจ้าหน้าที่ตารวจ จนถึงตัวของนักเรียนเอง จะสังเกตเห็นได้ว่า ปัญหาความรุนแรงที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่เจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา เริ่มลุกลามเข้ามาในประเทศไทย ดังนั้นทุก ๆ ฝ่ายควรที่จะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อตัวของนักเรียน ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (2552 : 64) ได้กล่าวไว้ว่า

สภาพสังคมปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยกาลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ลามกอนาจารทุกรูปแบบ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาทางเพศ และอาชญากรรมในที่สุด ซึ่งทางโรงเรียนไม่มีวิธีป้องกันดูแลอย่างทั่วถึง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพครอบครัว สังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะในเรื่องสื่อลามกอนาจาร เป็นปัญหาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งสามารถจาแนกสาเหตุได้พอสังเขป ดังนี้
  1. การแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของกลุ่มนายทุน ที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม ในสังคมในการผลิตและจาหน่ายสื่อลามกอนาจาร ซึ่งมีจาหน่ายแพร่หลายในท้องตลาดโดยขาดการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย
  2. กลุ่มผู้บริโภคสื่อโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ขาดจิตสานึกและวิจารณญาณที่ดีในการเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสาร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
  3. กลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้บริโภคสื่อลามกอนาจารไม่ได้รับการเลี้ยงดูอบรมเอาใจใส่ชี้แนะในการเลือกบริโภคที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง ครู ญาติพี่น้อง
  4. การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดเพียงพอ โดยเฉพาะตามแหล่งมั่วสุมสถานบันเทิงต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปล่อยปละละเลย ในการควบคุมเผยแพร่สื่อลามก
  5. การไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการแสดงออกด้านความรักอย่างเปิดเผยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น สถานศึกษาควรจัดมาตรการป้องกันและแก้ไขสื่อลามกอนาจาร โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนในการเฝ้าระวังพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง การตรวจค้นกลุ่มเป้าหมาย ควบคุมดูแลการนาข้อมูลข่าวสารและสื่อบันเทิงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ไม่ให้เข้ามาเผยแพร่ในสถานศึกษา จัดกิจกรรมและเสริมสร้างค่านิยม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการการสอนในเรื่องเพศศึกษา และจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องให้การตรวจตราควบคุมดูแล ตามแหล่งจาหน่ายและเผยแพร่ เพื่อส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดาเนินการตามกฎหมายต่อไป

วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

7 ปีผ่านไป

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
ตลอดเวลาว่างจากการทำงาน คือการศึกษาและพัฒนางานจากเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับ และได้มาตรฐานสากล โดยฝึก ศึกษา ทดลองทำ จากเจ้าของเทคโนโลยีคู่กันมาตลอด  และนำผลงานที่ได้มาใช้ในงานที่ได้รับมอบหมายได้จริง
อาจมาคนสงสัย  และมีคนเคยถาม หรือ ถามในใจ  ว่า แค่ธุรการโรงเรียน ทำแค่รับหนังสือเข้าออก ลงทะเบียนหนังสือ ทำแค่นั้นรับผิดชอบให้ได้ก่อน  ข้อสงสัยที่ว่า ทำอะไร  ทำทำไม  ไม่เป็นชิ่นเป็นอัน  เสียเวลา  ไร้สาระ  ไม่มีแก่นสาร   ไม่มีโครงการ  ไม่มีเอกสารเป็นกิจจะลักษณะ แต่จะมีคู่มือในการ  แต่แล้ว ก็ไม่มีให้เห็น
........
โครงการ มีคนมากมาย  ดาวน์โหลดได้จากในเวปไซด์ต่าง ๆ มากมาย  คือแผนการใช้งบประมาณ ในสิ่งที่เราทำ ไม่สามารถบอกถึงกระบวนการ ขั้นตอนแบบละเอียดได้  เพราะถ้าจะทำ คงใช้กระดาษมหาศาล
และยังไม่สามารถบอกอะไรได้เลยนอกจากลงมือทำ
.........
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนางานปัจจุบัน  ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างดี  จากการทำงาน ข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานเราเอง แต่ท้ายสุดไม่มีการจัดเก็บเป็นรูปแบบถาวรที่เป็นของหน่วยเลย  กลับไปอยู่ในส่วนงานอื่นๆ ที่เขาให้เรารายงาน  ถึงเวลาใช้ข้อมูล ก็ต้องหากันใหม่ เพราะเข้าระบบต้นสังกัดไม่ได้ มีการจำกัดการใช้งานเพราะเป็นระบบการประมวลผลส่วนกลาง สรุป  เหมือนทำงานส่งให้คนอื่น ก็เป็นข้อดีที่มีการเชืรอมโยงเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เราน่าจะมีสิ่งเหล่านี้ เป็นขององค์กรเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูใช้งานง่าย ไม่เสียเวลา
...........
จึงเกิดความคิด  การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในงานเราเพื่อจัดการกับข้อมูลในส่วนงานของเราได้ บุคลากรสามารถใช้ได้สะดวก  ไม่มีปัญหาในการเข้าถึง ดึงข้อมูลมาใช้ได้ทันที  ....และเป็นการพัฒนางานอาชีพเราให้เต็มรูปแบบด้วยตันเอง สามารถบริหารจัดการได้ตลอดเวลา  ต่างจากการจ้างหรือซื้อซอฟแวร์เข้ามาใช้ เนื่องจากนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา  ระบบหรือแอปพิเคชั่นต่างๆ จึงไม่สามารถใช้อย่างถาวร ....ระบบที่รายงานข้อมูลจากต้นสังกัด บางครั้งก็ยังมีปัญหาการเข้าใช้งาน  และ คุณลักษณะ องค์ประกอบของซอฟแวร์  ไม่ตรงกับกับบริบทของสภาพหน่วยงานเรา บางระบบ ซับซ้อน มีผลในด้านเวลาของครูที่ใช้งาน ซึ่งต้องใช้เวลาส่วนใหญ่สอนหนังสือ เกิดปัญหาความยุ่งยาก ข้อมูลไม่เป็นปัจจุบันไปปริยาย
.........
ในหน่วยงานเล็กๆ โดยเฉพาะสถานศึกษา มีครูเทคโนโลยี เป็นสถานที่ให้ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ มันก็กระไรอยู่ถ้าไปจ้างคนทำเวปไซด์หรือจ้างทำการนำเสนองานจากบริษัทอื่น ที่สำคัญมันไม่ยั่งยืน  ยิ่งเป็นสถานศึกษาที่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อม   เราพัฒนาคู่ไปกับนักเรียนก็จะดีไม่น้อย
...........
การพัฒนาตนเอง ให้สามารถพัฒนาเครื่องมือได้ดีในระดับหนึ่ง  ซึ่งนำมาใช้งานได้จริง  เป็นการพัฒนาตนเอง  และส่งผลให้หน่วยงานมีทรัพยากรในการบริหารจัดการแบบยั่งยืน สามารถพัฒนาต่อได้แบบไม่สิ้นสุด และเป็นที่ยอมรับ มีมาตรฐาน
............
การศึกษาเรียนรู้ เพื่อนำมาพัฒนางานในหน้าที่ ได้เสร็จสิ้นแล้วในระดับหนึ่ง จากทีมนักพัฒนาระดับมืออาชีพ ของ google และ Microsoft office และเรียนรู้กับเพื่อนๆ ทีมพัฒนาซอฟแวร์ระดับมืออาชีพ
การพัฒนาคงมีต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด และเรายืนบนจุดแอดว้านช์
.................

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ครูธุรการโรงเรียน

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
ที่มาของครูธุรการ
พ.ศ.2552 - รัฐบาลได้ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงานหรือโครงการต้นกล้าอาชีพ ตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยมีการจ้างบุคคลเพื่อมาทำงานธุรการแทนครู ในจำนวน 14,532 อัตรา โดย เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดที่ศธ 04009/2171 ถึง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทุกเขต/ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ(สศศ.) 
สำนักงานโครงการเพิ่มศักยภาพผู้ว่างงาน ได้ขอความร่วมมือจาก สพฐ. ขอให้สพท.ช่วยรับเป็นจุดลงทะเบียนแก่ผู้จบการศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีที่ประสงค์จะทำงานในโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้นๆพร้อมทั้งขอให้ สพท.เป็นผู้ประสานจัดส่งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมไปยังโรงเรียนต่างๆในเขตพื้นที่นั้นๆ เพื่อให้รับการฝึกงานเป็นเวลา 5 เดือนโดยคาดว่าจะเริ่มฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 1-16 พฤษภาคมเพื่อให้สามารถช่วยงานธุรการที่โรงเรียนได้ ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป

เพื่อให้โครงการคืนครูให้นักเรียน ได้บรรจุผลตามนโยบาย ขอให้สพท./สศศ. และสถานศึกษาในสังกัดสศศ. ดำเนินการดังนี้
  1. ให้สพท./สศศ. รับสมัครผู้ที่จบปริญญาตรีทุกสาขาวิชาที่ประสงค์จะทำงานในโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้นๆระหว่างวันที่ 10-20 เมษายนตามจำนวนตำแหน่งที่ สพฐ.จัดสรรให้หากมีผู้สมัครเกินจำนวนตำแหน่งที่รับจัดสรร ให้สพท./สศศ.ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบคัดเลือกให้ได้เท่าจำนวนที่ได้รับจัดสรร
  2. ขอให้สพท.เขต1 ของแต่ละจังหวัดเป็นแกนนำในการอบรมให้แก่ผู้ได้รับการคัดเลือก วันที่ 1-16 พฤษภาคม
  3. ระยะเวลาการฝึกงานจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคมเป็นต้นไป
  4. ให้สพท.และศูนย์การศึกษาพิเศษ/สถานศึกษาในสังกัดสศศ. ทำสัญญาจ้างผู้ได้รับการคัดเลือกและผ่านการอบรมแล้วเป็นลูกจ้างชั่วคราวด้วยเงินงบประมาณ
  5. เนื่องจากอัตราจ้างที่รัฐจัดสรรให้ครั้งนี้มีจำนวนจำกัด จึงขอให้ทุกสพท./สศศ. วางแผนการใช้บุคลากรร่วมกัน ทั้งนี้สพฐ.ได้จัดสรรอัตราให้แก่สพท.ตามโครงการคืนครูให้นักเรียนจำนวน 14,532 อัตรา (โดย สพท.เชียงราย เขต 1 ได้รับจัดสรรอัตรา จำนวน...........ตำแหน่ง)
  6. โครงการนี้จะมีการฝึกอบรมและปฏิบัติจริงโดยใช้เวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม-30 กันยายนนี้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อบรมและการปฏิบัติงานจริงทุกคนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับค่าตอบแทนคนละ 4,800 บาทต่อเดือน หลังจากนั้นจะมีการคัดกรองโดยผู้ที่ผ่านการคัดกรองจะได้รับการทำสัญญาเป็นลูกจ้างชั่วคราวในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการโดยได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษา 
ขอบข่ายภารกิจและหน้าที่

  1. งานธุรการ สารบรรณ จัดเก็บเอกสารหลักฐานทะเบียนและหนังสือราชการต่าง ๆ รวมทั้งระบบ E-Office
  2. งานพัสดุ จัดลงทะเบียน คุมการเบิกจ่าย การจัดเก็บ รักษาดูแล ความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  3. งานข้อมูลสารสนเทศ จัดระบบทะเบียน ระเบียนข้อมูล การสํารวจและบันทึกข้อมูลการจัดทํารายงานข้อมูล จัดส่งและรับข้อมูล ในระบบ ICT
  4. งานการประสานงาน การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานส่วนราชการอื่น ๆ ชุมชน และท้องถิ่น การให้บริการแก่ประชาชนหรือผู้มาขอรับบริการหรือติดต่อราชการ
  5. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

อัตราค่าจ้าง

  1. ในระหว่างฝีกอบรมและทดลองปฏิบัติงาน (ประมาณวันที่ 1 พฤษภาคม 2552 – 30 กันยายน 2552) ได้รับค่าจ้างเดือนละ 4,800 บาท
  2. หากผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว จะจ้างเป็นอัตรา ตามวุฒิปริญญาตรี
    • ปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) อัตราจ้าง 7,940 บาท/เดือน
    • ปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) อัตราจ้าง 8,700 บาท/เดือน
  • การปรับอัตราเงินเดือน จนถึงปัจจุบัน 4800/7940/9140/15000
 คุณสมบัติ
  • เป็นผู้ที่ได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขา
  • มีความสามารถเหมาะสมในการปฏิบัติงานในหน้าที่

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
1.ขอบคุณข้าวทุกเม็ด น้ำทุกหยด อาหารทุกจาน อย่างจริงใจ
2.อย่าสวดมนต์เพื่อขอสิ่งใด นอกจาก”ปัญญา”และ”ความกล้าหาญ”
3.”เพื่อนใหม่”คือของขวัญที่ให้กับตัวเอง ส่วน”เพื่อนเก่า”/”มิตร”คืออัญมณีที่นับวันจะเพิ่มคุณค่า
4.อ่านหนังสือธรรมะปีละเล่ม
5.ปฏิบัติต่อคนอื่น เช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา
6.พูดคำว่า”ขอบคุณ”ให้มากๆ
7.รักษา”ความลับ”ให้เป็น
8.ประเมินคุณค่าของการให้”อภัย”ให้สูง
9.ฟังให้มาก แล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
10.ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง หากมีใครตำหนิและรู้แก่ใจว่าเป็นจริง
11.หากล้มลง จงอย่ากลัวกับการลุกขึ้นใหม่
12.เมื่อเผชิญหน้ากับงานหนัก คิดเสมอว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะล้มเหลว
13.อย่าถกเถียงธุรกิจภายในลิฟท์
14.ใช้บัตรเครดิตเพื่อความสะดวก อย่าใช้เพื่อก่อหนี้สิน
15.อย่าหยิ่ง หากจะกล่าวว่า”ขอโทษ”
16.อย่าอาย หากจะบอกใครว่า”ไม่รู้”
17.ระยะทางนับพันกิโลเมตร แน่นอนมันไม่ราบรื่นตลอดทาง
18.เมื่อไม่มีใครเกิดมาแล้ววิ่งได้ จึงควรทำสิ่งต่างๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป
19.การประหยัดเป็นบ่อเกิดแห่งความร่ำรวย เป็นต้นทางแห่งความไม่ประมาท
20.คนไม่รักเงิน คือคนไม่รักชีวิต ไม่รักอนาคต
21.ยามทะเลาะกัน ผู้ที่เงียบก่อน คือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
22.ชีวิตนี้ฉันไม่เคยได้ทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันสนุกหมด
23.จงใช้จุดแข็ง อย่าเอาชนะจุดอ่อน
24.เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่น ที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
25.เหรียญเดียวมี 2 หน้า ความสำเร็จ กับ ล้มเหลว
26.อย่าตามใจตัวเอง เรื่องยุ่งๆเกิดขึ้น ล้วนตามใจตัวเองทั้งสิ้น
27.ฟันร่วงเพราะมันแข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน
28.อย่าดึงต้นกล้าให้โตไวๆ(อย่าใจร้อน)
29.ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีอภัย มีใช้อยู่
30.ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด กระดุมเม็ดต่อๆไปก็ผิดหมด
31.ทุกชิ้นงานจะต้องกำหนดวันเวลาแล้วเสร็จ
32.จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
33.ดาวและเดือนที่อยู่สูง อยากได้ต้องปีน”บันไดสูง”
34.มนุษย์ทุกคนมีชิ้นงานมากมายในชีวิต จงทำงานชิ้นสำคัญที่สุดก่อนเสมอ
35.หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือเดือนละเล่ม
36.ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต

9 คำพ่อสอน

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

ความเพียร การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯ วันที่ 27 ตุลาคม 2521

ความพอดี ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน 
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 18 ธันวาคม 2540

ความรู้ตน  เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน 
พระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี 2521

คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้ 
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 20 เมษายน 2521

อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม 
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 มิถุนายน 2496

พูดจริง ทำจริง ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม 
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม 2540

หนังสือเป็นออมสิน  หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้ 
พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ 25 พฤศจิกายน 2514

ความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง 
พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช 2531

การเอาชนะใจตน ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ 
พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ 12 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 12 ธันวาคม 2521

คำพ่อสอน "ขอให้ทุกคนมีพลานามัยแข็งแรง มีจิตใจเข้มแข็ง"

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

   “เพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสุขใจสุขกายตลอดไปชั่วกาลนาน” 

  • ขอให้ทุกคนมีพลานามัยแข็งแรง มีจิตใจเข้มแข็ง และมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งในหน้าที่การงานที่ดีและในส่วนตัว เพื่อจะได้มีความเจริญก้าวหน้ามีความสุขใจสุขกายตลอดไปชั่วกาลนาน... 
  • ส่วนรวมจะได้เป็นปึกแผ่น เราจะได้อยู่ในสังคมที่เรียบร้อย อยู่ในประเทศที่มั่นคงที่มีความก้าวหน้า ขอให้ทุกคนประสบแต่โชคดี มีความสุขความเจริญ ความก้าวหน้าและมีความสุขทั่วกัน... 


ที่มา : พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือคำพ่อสอน ในโครงการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทด้วยความรักและความดี 60 ปี 60 ล้านความดีถวายในหลวง น้อมเกล้าถวายในหลวง

คำพ่อสอน "ประเทศไทยเราอยู่อย่างพอมีพอกิน"

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
 
 “ไม่ใช่อย่างทุกคนอยู่มีบ้านหรูหรา และร่ำรวยกันทุกคน” 


  • เราประเทศไทยถ้าสามัคคีกันดี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่มีเหตุผล เราเองจะเป็นที่ตั้งของความมั่นคงผาสุกของราษฎรที่เป็นประชากรแห่งประเทศนี้ เป็นตัวอย่างแก่มวลมนุษย์ มวลมนุษย์ก็มนุษย์ชาตินี้เอง และประเทศอื่นก็อาจเอาอย่างบ้าง ก็เกิดความไม่เบียดเบียนขึ้น... 
  • ความอยู่ในโลกนี้อย่างสบาย พอสมควร คือไม่ใช่หรูหรา ประเทศไทยเราจะอยู่ไม่ใช่อย่างทุกคนอยู่มีบ้านหรูหรากันทุกคน และร่ำรวยกันทุกคนแต่ว่าทุกคนก็พอมีพอกิน... 
  • ผู้ที่มีความอยู่ดีกินดีนั้นย่อมสามารถป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ได้ ทั้งในยามปกติ ทั้งในยามคับขัน เพราะว่าผู้ที่มีชีวิตที่ดี มีอาหารพอเพียง มีฐานะมั่นคง ย่อมมีจิตใจแข็งแรง และทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้เกิดความเข้าใจในความมั่นคง คือการรักษาความปลอดภัยของประเทศ และหวงแหนแผ่นดินของตัว...
  • ประเทศไทยเราอาจไม่เป็นประเทศที่รุ่งเรืองที่สุดในโลก หรือรวยที่สุดในโลก หรือฟู่ฟ่าที่สุดในโลก แต่ก็ขอให้เมืองไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงมีความสงบได้ เพราะว่าในโลกนี้หายากแล้ว เราทำเป็นประเทศที่สงบประเทศที่มีคนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันจริงๆ เราจะเป็นที่หนึ่งในโลกในข้อนี้...
  • แล้วรู้สึกว่าที่หนึ่งในโลกในข้อนี้จะดีกว่าผู้อื่น จะดีกว่าคนที่รวยที่สุดในโลก จะดีกว่าคนที่เก่งในทางอะไรก็ตามที่สุดในโลก. ถ้าเรามีความสงบ แล้วมีความสบายความมั่นคงที่สุดในโลกนั้น รู้สึกจะไม่มีใครสู้เราได้...
ที่มา : พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือคำพ่อสอน ในโครงการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทด้วยความรักและความดี 60 ปี 60 ล้านความดีถวายในหลวง น้อมเกล้าถวายในหลวง

คำพ่อสอน "เราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด"

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

 “ไม่นำมาใช้อย่างสิ้นเปลืองไร้ประโยชน์หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า” 


  •  ทุกวันนี้ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี... 
  • ข้อสำคัญเราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรทั้งนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้สิ้นเปลืองไปโดยไร้ประโยชน์หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่ระมัดระวังใช้ด้วยความประหยัดรอบคอบประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชา เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสมโดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่เกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว... 
  • การที่ดัดแปลงธรรมชาติหรือสภาพของธรรมชาติมาใช้เพื่อประโยชน์ของบุคคลนั้นก็ต้องระมัดระวังมากที่จะไม่ให้เกิดความเสียหาย และการที่จะทำให้เกิดประโยชน์ได้ แต่คนก็จะต้องช่วยกันควบคุมสิ่งที่จะเสียหาย สิ่งที่จะเสียหายก็จะหมดไป... 
  • การเผาเชื้อเพลิง เช่น ถ่าน ถ่านหิน น้ำมัน เชื้อเพลิง อะไรๆ ต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมดทำให้คาร์บอนขึ้นไปในอากาศจำนวน ๕ พันล้านตันต่อปี แล้วก็ยังมีการเผาทำลายป่าอีก ๑.๕ พันล้านตัน รวมแล้ว เป็น ๖.๕ พันล้านตัน ถ้าขึ้นๆ ไปอย่างนี้ ก็เท่ากับเกือบสิบเปอร์เซนต์ ของจำนวนที่มีอยู่แล้วในอากาศ ถ้าไม่มีอะไรที่จะทำให้จำนวนของสารนี้ในอากาศลดลง ก็จะทำให้สารนี้กลายเป็นเหมือนตู้กระจกครอบ ทำให้โลกนี้ร้อนขึ้น... 
  • การนำหลักวิชาและเทคโนโลยีใดๆ มาใช้ในงานเกษตรกรรม จึงต้องพยายามระมัดระวังไม่ให้เป็นการทำลายธรรมชาติ เพราะจะมีผลกระทบเสียหายแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์โดยตรง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต..
ที่มา : พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือคำพ่อสอน ในโครงการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทด้วยความรักและความดี 60 ปี 60 ล้านความดีถวายในหลวง น้อมเกล้าถวายในหลวง

คำพ่อสอน "ประเทศจะอยู่ได้ เพราะเราสร้างความดี"

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
“ความดีสร้างกำลังใจ เป็นเหมือนการฉีดยาป้องกันโรค”
  • เราต้องทำในสิ่งที่ดีที่ชอบตลอดไปเป็นเวลานานอาจน่าเบื่อ แต่แม้กระนั้นอย่างเพิ่งท้อใจ แม้กระนั้น บางทีเราทำตลอดชีวิตแล้วก็ยังไม่พอ แต่ทำไมเมืองไทยอยู่ได้ก็เพราะว่าบรรพบุรุษของเราทำมาเป็นแรมปีเป็นร้อยๆ ปีทำมาด้วยความสุจริตใจ… 
  • ประเทศไทยนี่ทำไมอยู่ได้ ก็เพราะพวกเราทุกคน ถ้าเราสร้างความดีคือทำปฏิบัติในสิ่งที่บริสุทธิ์ใจที่สุจริต ที่ตั้งใจดีมันอาจมีผิดพลาดบ้าง แต่ว่าไม่ได้ตั้งใจผิดพลาด... 
  • ตั้งใจทำดี ก็เป็นการสร้างกำลังของบ้านเมือง ทำให้เป็นเหมือนฉีดยาป้องกันโรค ซึ่งถ้าเราฉีดยาป้องกันโรควันนี้ พรุ่งนี้ไม่ใช่ไม่ได้ผล หมอก็ทราบดี ถ้าเราฉีดยา ต้องได้ครบโดสถึงจะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้... 
  • การป้องกันให้ครบโดส เราต้องทำในสิ่งที่ดีที่ชอบตลอดไปเป็นเวลานานอาจน่าเบื่อ แต่แม้กระนั้นอย่างเพิ่งท้อใจ แม้กระนั้น บางทีเราทำตลอดชีวิตแล้ว ก็ยังไม่พอ... 
  • แต่ทำไมเมืองไทยอยู่ได้ ก็เพราะว่าบรรพบุรุษของเราทำมาเป็นแรมปีเป็นร้อยๆ ปีทำมาด้วยความสุจริตใจ... 
ที่มา : พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนังสือคำพ่อสอน ในโครงการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทด้วยความรักและความดี 60 ปี 60 ล้านความดีถวายในหลวง น้อมเกล้าถวายในหลวง

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

แนะนำสำหรับการอัปโหลด

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

อัตราบิตของวิดีโอที่แนะนำสำหรับการอัปโหลด

ประเภทอัตราบิตของวิดีโอ, อัตราเฟรมมาตรฐาน 
(24, 25, 30)
อัตราบิตของวิดีโอ, อัตราเฟรมสูง 
(48, 50, 60)
2160p (4k)35-45 Mbps53-68 Mbps
1440p (2k)16 Mbps24 Mbps
1080p8 Mbps12 Mbps
720p5 Mbps7.5 Mbps
480p2.5 Mbps4 Mbps
360p1 Mbps1.5 Mbps

อัตราบิตของเสียงที่แนะนำสำหรับการอัปโหลด

ประเภทอัตราบิตของเสียง
โมโน128 kbps
สเตอริโอ384 kbps
5.1512 kbps

ความละเอียดและอัตราส่วน
  • 2160p: 3840x2160
  • 1440p: 2560x1440
  • 1080p: 1920x1080
  • 720p: 1280x720
  • 480p: 854x480
  • 360p: 640x360
  • 240p: 426x240