วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ศตวรรษที่ 21 (21st Century)

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
ไทยแลนด์ 4.0  ยุทธศาสตร์การพัฒนา “6R12C3E” 
เพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 (21st Century)


1. Reading การอ่าน เป็นการอ่านแล้วเข้าใจ สรุปความได้ รู้จักใช้ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นอย่างมีเหตุผล และนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์

2. wRiting การเขียน เป็นความชัดเจนของการเขียนที่เลือกใช้คำมีความหมายเด่นชัด อ่านเข้าใจ ไม่คลุมเครือ ถูกต้อง เหมาะสมกับกาลเทศะ กะทัดรัด เร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ

3. Relation Science วิทยาศาสตร์ เป็นความเข้าใจและสามารถนำเอาแนวคิด หลักการ ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ สามารถใช้กระบวนการเพื่อแก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. aRithmetic คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องการพัฒนาในการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ (Effective Problem Solvers)
5. Relation Technology and Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการทำงานโดยการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานในลักษณะของกระบวนการ (Process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติและแก้ปัญหา ผลผลิต (Product) เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี และการผสมของกระบวนการและผลผลิต (Process & Product)
6. Relation Quality คุณภาพ เป็นการสร้างคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญของการบริหารจัดการในองค์กรที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง
7. Critical Thinking การคิดวิเคราะห์เป็นความสามารถในการแยกแยะเพื่อหาส่วนย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราว หรือเนื้อหาต่างๆว่าประกอบด้วยอะไร มีความสำคัญอย่างไร อะไรเป็นเหตุเป็นผลและเป็นอย่างนั้นอาศัยหลักการของอะไร
8. Creativity ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิด แนวทาง และทัศนคติใหม่ๆ รวมทั้งความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่
9. Creative Tension พลังสร้างสรรค์ เป็น การใช้ความพยายามทำให้สำเร็จจากช่องว่างระหว่างความจริงในปัจจุบันกับสิ่งที่คาดหวังที่อาจจะมีอุปสรรค์กับวิสัยทัศน์ซึ่งสามารถเปลี่ยนอุปสรรค์ให้เป็นแหล่งของพลังสร้างสรรค์หรือที่เรียกว่าแรงตึงของความคิดสร้างสรรค์ (Holding Creative Tension) แรงตึงของความคิดสร้างสรรค์จะเป็นศูนย์กลางของความรอบรู้
10. Critical Proactively การคิดเชิงรุก เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายสู่อนาคต การวางแผนและการทำงานเชิงรุกต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร หรือประสบการณ์ เน้นพันธกิจที่ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว คุ้มค่าและมีคุณภาพ
11. Communication การสื่อสาร เป็นกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารและข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น รวมทั้ง ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ
12. Collaboration การร่วมมือ เป็นการทำงานร่วมกับคนอื่นในทางต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรหรือหน่วยงาน จากการช่วยเหลือซึ่งกัน ด้วยความเต็มใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
13. Collaborative Cultural การเกื้อกูลและแบ่งปัน เป็นความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตนเอง แต่เห็นอกเห็นใจ คุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่
14. Competency สมรรถนะ เป็นคุณลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้บุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงานในงานที่ตนรับผิดชอบให้สูงกว่าหรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้
15. Connecting การเชื่อมโยง เป็นกระบวนการแสดงความต่อเนื่อง
16. Compositionการยึดมั่น เป็น ความมั่นคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างง่ายๆ และสอดคล้องกับความต้องการ
17. Controlling การกำกับและติดตาม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทราบผลการปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
18. Cost Effectivenessการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า เป็นการใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด
19 Empowerment . การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นการสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี และมีความสำคัญในการปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้บรรลุประสิทธิผลและนำพาตนเอง กลุ่มและองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
20 Efficiency & Effective . ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นความสามารถทำงานให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นการบรรลุความสำเร็จในรูปแบบของภารกิจ เป้าหมาย นโยบาย หรือวัตถุประสงค์
21. Evaluation การประเมินผล เป็นการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ

การซิงค์ของ Chrome ทำงานอย่างไร มีอะไรที่เชื่อมโยงกัน

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

การซิงค์ของ Chrome ทำงานอย่างไร มีอะไรที่เชื่อมโยงกัน

การซิงค์ของ Chrome สามารถบันทึกบุ๊กมาร์ก ประวัติ รหัสผ่าน และการตั้งค่าอื่นๆ อย่างปลอดภัยในบัญชี Google และมันจะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจาก Chrome บนอุปกรณ์ใดก็ได้ แทบทุกการกระทำของเราบนโลกออนไลน์ มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริการของ Google ทั้งสิ้น ที่จัดเก็บข้อมูลประวัติเราไว้ทั้งหมด  รวมทั้งรายการที่ไม่แสดงตัวใน Chrome ด้วย  

1.  แอปพลิเคชัน     ในทุกอุปกรณ์ ทุกระบบ แอปจาก Chrome เว็บสโตร์ และข้อมูลเกี่ยวกับแอปจาก Play Store หรือ ดูผลิตทั้งหมดที่ https://www.google.co.th/intl/th/about/products/






2.  ส่วนขยาย   
ส่วนขยายจาก Chrome เว็บสโตร์การตั้งค่าการตั้งค่าเบราว์เซอร์ที่คุณได้เปลี่ยนในการตั้งค่า Chrome โดยบางส่วนจะซิงค์กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น

















3. การป้อนอัตโนมัติ  ข้อมูลแบบฟอร์มที่ส่งผ่าน Chrome เช่น อีเมลหรือที่อยู่ ระบบจะไม่นับบัตรเครดิตและที่อยู่ที่ซิงค์ผ่าน Google Payments



4. ประวัติที่อยู่เว็บไซต์ที่มีการป้อนในแถบที่อยู่เว็บ ระบบจะไม่นับประวัติการท่องเว็บอื่นๆ ที่มีการซิงค์ ซึ่งคุณสามารถดูได้จากหน้าประวัติใน Chrome


5. ธีม  จาก Chrome เว็บสโตร์  หรือธีมที่มีการติดตั้งผ่าน app ในโทรศัพท์มือถือ
6. Bookmarks  หน้าที่บุ๊กมาร์กใน Chrome
7. แท็บที่เปิดแท็บที่เปิดใน Chrome บนอุปกรณ์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง



8. (ข้อนี้สำคัญ) รหัสผ่าน
มีการเข้ารหัส
รหัสผ่านที่ตั้งค่าให้ Chrome หรือ Smart Lock สำหรับรหัสผ่านทำการบันทึก และรายชื่อเว็บไซต์ที่คุณเคยแจ้งเราว่าอย่าบันทึก จะมีการเข้ารหัสรหัสผ่านเสมอ







    เลือกข้อมูลที่จะซิงค์และวิธีปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว
    ตามค่าเริ่มต้น เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้ Chrome ข้อมูลทั้งหมดใน Chrome จะซิงค์กับบัญชี Google ของคุณ ซึ่งรวมถึงบุ๊กมาร์ก ประวัติการเข้าชม รหัสผ่าน และข้อมูลอื่นๆ


    ปรับการใช้งาน Google ให้เข้ากับคุณมากขึ้นด้วยประวัติการท่องเว็บ
    การตั้งค่ากิจกรรมบนเว็บและแอปของ Google จะรวมตัวเลือกที่จะจัดเก็บประวัติการเข้าชมของ Chrome ที่ซิงค์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่บันทึกไว้  ซึ่งกิจกรรมนี้อาจใช้เพื่อปรับเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งานของคุณบนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Google เช่น Search หรือโฆษณา ตัวอย่างเช่น คุณอาจเห็นข่าวที่แนะนำในฟีด ซึ่งอิงตามประวัติการเข้าชม Chrome ของคุณ ซึ่งคุณสามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมได้ที่บัญชีของฉันทุกเมื่อ
    หากไม่ต้องการปรับผลิตภัณฑ์ Google ให้เข้ากับคุณ คุณสามารถใช้ระบบคลาวด์ของ Google จัดเก็บและซิงค์ข้อมูลใน Chrome โดยไม่อนุญาตให้ Google อ่านข้อมูลทั้งหมดของคุณ หากต้องการเพิ่มเลเยอร์การเข้ารหัส ให้ตั้งค่ารหัสผ่านการซิงค์
    หมายเหตุ: Android ไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันในอุปกรณ์ทุกเครื่อง คำแนะนำเหล่านี้ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ Android 6.0 ขึ้นไป ดูว่าคุณใช้ Android เวอร์ชันใด


    ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

    • หากคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการซิงค์ ให้แก้ปัญหาการซิงค์
    • หากต้องการซิงค์บัญชีอื่น ให้เพิ่มหรือสลับผู้ใช้
    • หากคุณไม่สามารถลงชื่อเช้าใช้บัญชีของคุณ ให้แก้ปัญหาการลงชื่อเข้าใช้
    • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชี Google ให้ดูศูนย์ช่วยเหลือของบัญชี

    เพิ่มเติม .....
    เมตาแท็กเหล่านี้สามารถควบคุมลักษณะการทำงานในการรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนีของเครื่องมือค้นหา เมตาแท็ก robots จะใช้กับเครื่องมือค้นหาทั้งหมด ในขณะที่เมตาแท็ก "googlebot" จะใช้เฉพาะกับ Google ค่าเริ่มต้นคือ “index, follow" (รวมถึง "all") และไม่จำเป็นต้องมีการระบุ เราเข้าใจค่าต่อไปนี้ (เมื่อระบุค่าหลายค่า ให้คั่นค่าด้วยเครื่องหมายจุลภาค)
    • noindex: ป้องกันไม่ให้จัดทำดัชนีหน้า
    • nofollow: ป้องกันไม่ให้ Googlebot ติดตามลิงก์จากหน้าเว็บนี้
    • nosnippet: ป้องกันไม่ให้แสดงตัวอย่างข้อมูลในผลการค้นหา
    • noodp: ป้องกันไม่ให้ใช้คำอธิบายสำรองจาก ODP/DMOZ
    • noarchive: ป้องกันไม่ให้ Google แสดงลิงก์ที่เก็บไว้สำหรับหน้าเว็บ
    • unavailable_after:[date]: คุณสามารถระบุเวลาและวันที่ที่แน่นอนที่คุณต้องการหยุดการรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนีของหน้านี้
    • noimageindex: ช่วยให้คุณระบุได้ว่าคุณไม่ต้องการให้หน้าเว็บปรากฏเป็นหน้าอ้างอิงสำหรับรูปภาพที่ปรากฏในผลการค้นหาของ Google
    • none: มีค่าเทียบเท่า noindex, nofollow
    ขณะนี้ คุณยังสามารถระบุข้อมูลนี้ในส่วนหัวของหน้าเว็บของคุณ โดยใช้คำสั่งส่วนหัว HTTP ของ "X-Robots-Tag" ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากคุณต้องการจำกัดการจัดทำดัชนีของไฟล์ที่ไม่ใช่ไฟล์ HTML เช่น กราฟิก หรือเอกสารประเภทอื่นๆ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมตาแท็กของ robots