วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ศตวรรษที่ 21 (21st Century)

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
ไทยแลนด์ 4.0  ยุทธศาสตร์การพัฒนา “6R12C3E” 
เพื่อการบริหารจัดการสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 (21st Century)


1. Reading การอ่าน เป็นการอ่านแล้วเข้าใจ สรุปความได้ รู้จักใช้ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นอย่างมีเหตุผล และนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์

2. wRiting การเขียน เป็นความชัดเจนของการเขียนที่เลือกใช้คำมีความหมายเด่นชัด อ่านเข้าใจ ไม่คลุมเครือ ถูกต้อง เหมาะสมกับกาลเทศะ กะทัดรัด เร้าความสนใจ สร้างความประทับใจ

3. Relation Science วิทยาศาสตร์ เป็นความเข้าใจและสามารถนำเอาแนวคิด หลักการ ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ สามารถใช้กระบวนการเพื่อแก้ปัญหา ตัดสินใจ และทำความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าในความสัมพันธ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4. aRithmetic คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องการพัฒนาในการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ (Effective Problem Solvers)
5. Relation Technology and Innovation เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นการทำงานโดยการนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานในลักษณะของกระบวนการ (Process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติและแก้ปัญหา ผลผลิต (Product) เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี และการผสมของกระบวนการและผลผลิต (Process & Product)
6. Relation Quality คุณภาพ เป็นการสร้างคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญของการบริหารจัดการในองค์กรที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง
7. Critical Thinking การคิดวิเคราะห์เป็นความสามารถในการแยกแยะเพื่อหาส่วนย่อยของเหตุการณ์ เรื่องราว หรือเนื้อหาต่างๆว่าประกอบด้วยอะไร มีความสำคัญอย่างไร อะไรเป็นเหตุเป็นผลและเป็นอย่างนั้นอาศัยหลักการของอะไร
8. Creativity ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิด แนวทาง และทัศนคติใหม่ๆ รวมทั้งความเข้าใจและการมองปัญหาในรูปแบบใหม่
9. Creative Tension พลังสร้างสรรค์ เป็น การใช้ความพยายามทำให้สำเร็จจากช่องว่างระหว่างความจริงในปัจจุบันกับสิ่งที่คาดหวังที่อาจจะมีอุปสรรค์กับวิสัยทัศน์ซึ่งสามารถเปลี่ยนอุปสรรค์ให้เป็นแหล่งของพลังสร้างสรรค์หรือที่เรียกว่าแรงตึงของความคิดสร้างสรรค์ (Holding Creative Tension) แรงตึงของความคิดสร้างสรรค์จะเป็นศูนย์กลางของความรอบรู้
10. Critical Proactively การคิดเชิงรุก เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายสู่อนาคต การวางแผนและการทำงานเชิงรุกต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร หรือประสบการณ์ เน้นพันธกิจที่ดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว คุ้มค่าและมีคุณภาพ
11. Communication การสื่อสาร เป็นกระบวนการถ่ายทอดข่าวสารและข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น รวมทั้ง ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ
12. Collaboration การร่วมมือ เป็นการทำงานร่วมกับคนอื่นในทางต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กรหรือหน่วยงาน จากการช่วยเหลือซึ่งกัน ด้วยความเต็มใจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
13. Collaborative Cultural การเกื้อกูลและแบ่งปัน เป็นความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตนเอง แต่เห็นอกเห็นใจ คุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่
14. Competency สมรรถนะ เป็นคุณลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในตัวบุคคล ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันให้บุคคลสามารถสร้างผลการปฏิบัติงานในงานที่ตนรับผิดชอบให้สูงกว่าหรือเหนือกว่าเกณฑ์/เป้าหมายที่กำหนดไว้
15. Connecting การเชื่อมโยง เป็นกระบวนการแสดงความต่อเนื่อง
16. Compositionการยึดมั่น เป็น ความมั่นคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างง่ายๆ และสอดคล้องกับความต้องการ
17. Controlling การกำกับและติดตาม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทราบผลการปฏิบัติงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
18. Cost Effectivenessการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า เป็นการใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด
19 Empowerment . การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นการสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดี และมีความสำคัญในการปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้บรรลุประสิทธิผลและนำพาตนเอง กลุ่มและองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
20 Efficiency & Effective . ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นความสามารถทำงานให้สำเร็จไม่ว่าจะเป็นการบรรลุความสำเร็จในรูปแบบของภารกิจ เป้าหมาย นโยบาย หรือวัตถุประสงค์
21. Evaluation การประเมินผล เป็นการนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ

การซิงค์ของ Chrome ทำงานอย่างไร มีอะไรที่เชื่อมโยงกัน

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

การซิงค์ของ Chrome ทำงานอย่างไร มีอะไรที่เชื่อมโยงกัน

การซิงค์ของ Chrome สามารถบันทึกบุ๊กมาร์ก ประวัติ รหัสผ่าน และการตั้งค่าอื่นๆ อย่างปลอดภัยในบัญชี Google และมันจะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจาก Chrome บนอุปกรณ์ใดก็ได้ แทบทุกการกระทำของเราบนโลกออนไลน์ มักมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริการของ Google ทั้งสิ้น ที่จัดเก็บข้อมูลประวัติเราไว้ทั้งหมด  รวมทั้งรายการที่ไม่แสดงตัวใน Chrome ด้วย  

1.  แอปพลิเคชัน     ในทุกอุปกรณ์ ทุกระบบ แอปจาก Chrome เว็บสโตร์ และข้อมูลเกี่ยวกับแอปจาก Play Store หรือ ดูผลิตทั้งหมดที่ https://www.google.co.th/intl/th/about/products/






2.  ส่วนขยาย   
ส่วนขยายจาก Chrome เว็บสโตร์การตั้งค่าการตั้งค่าเบราว์เซอร์ที่คุณได้เปลี่ยนในการตั้งค่า Chrome โดยบางส่วนจะซิงค์กับคอมพิวเตอร์เท่านั้น

















3. การป้อนอัตโนมัติ  ข้อมูลแบบฟอร์มที่ส่งผ่าน Chrome เช่น อีเมลหรือที่อยู่ ระบบจะไม่นับบัตรเครดิตและที่อยู่ที่ซิงค์ผ่าน Google Payments



4. ประวัติที่อยู่เว็บไซต์ที่มีการป้อนในแถบที่อยู่เว็บ ระบบจะไม่นับประวัติการท่องเว็บอื่นๆ ที่มีการซิงค์ ซึ่งคุณสามารถดูได้จากหน้าประวัติใน Chrome


5. ธีม  จาก Chrome เว็บสโตร์  หรือธีมที่มีการติดตั้งผ่าน app ในโทรศัพท์มือถือ
6. Bookmarks  หน้าที่บุ๊กมาร์กใน Chrome
7. แท็บที่เปิดแท็บที่เปิดใน Chrome บนอุปกรณ์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง



8. (ข้อนี้สำคัญ) รหัสผ่าน
มีการเข้ารหัส
รหัสผ่านที่ตั้งค่าให้ Chrome หรือ Smart Lock สำหรับรหัสผ่านทำการบันทึก และรายชื่อเว็บไซต์ที่คุณเคยแจ้งเราว่าอย่าบันทึก จะมีการเข้ารหัสรหัสผ่านเสมอ







    เลือกข้อมูลที่จะซิงค์และวิธีปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว
    ตามค่าเริ่มต้น เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้ Chrome ข้อมูลทั้งหมดใน Chrome จะซิงค์กับบัญชี Google ของคุณ ซึ่งรวมถึงบุ๊กมาร์ก ประวัติการเข้าชม รหัสผ่าน และข้อมูลอื่นๆ


    ปรับการใช้งาน Google ให้เข้ากับคุณมากขึ้นด้วยประวัติการท่องเว็บ
    การตั้งค่ากิจกรรมบนเว็บและแอปของ Google จะรวมตัวเลือกที่จะจัดเก็บประวัติการเข้าชมของ Chrome ที่ซิงค์ไว้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่บันทึกไว้  ซึ่งกิจกรรมนี้อาจใช้เพื่อปรับเปลี่ยนประสบการณ์การใช้งานของคุณบนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Google เช่น Search หรือโฆษณา ตัวอย่างเช่น คุณอาจเห็นข่าวที่แนะนำในฟีด ซึ่งอิงตามประวัติการเข้าชม Chrome ของคุณ ซึ่งคุณสามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมได้ที่บัญชีของฉันทุกเมื่อ
    หากไม่ต้องการปรับผลิตภัณฑ์ Google ให้เข้ากับคุณ คุณสามารถใช้ระบบคลาวด์ของ Google จัดเก็บและซิงค์ข้อมูลใน Chrome โดยไม่อนุญาตให้ Google อ่านข้อมูลทั้งหมดของคุณ หากต้องการเพิ่มเลเยอร์การเข้ารหัส ให้ตั้งค่ารหัสผ่านการซิงค์
    หมายเหตุ: Android ไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันในอุปกรณ์ทุกเครื่อง คำแนะนำเหล่านี้ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ Android 6.0 ขึ้นไป ดูว่าคุณใช้ Android เวอร์ชันใด


    ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

    • หากคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการซิงค์ ให้แก้ปัญหาการซิงค์
    • หากต้องการซิงค์บัญชีอื่น ให้เพิ่มหรือสลับผู้ใช้
    • หากคุณไม่สามารถลงชื่อเช้าใช้บัญชีของคุณ ให้แก้ปัญหาการลงชื่อเข้าใช้
    • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบัญชี Google ให้ดูศูนย์ช่วยเหลือของบัญชี

    เพิ่มเติม .....
    เมตาแท็กเหล่านี้สามารถควบคุมลักษณะการทำงานในการรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนีของเครื่องมือค้นหา เมตาแท็ก robots จะใช้กับเครื่องมือค้นหาทั้งหมด ในขณะที่เมตาแท็ก "googlebot" จะใช้เฉพาะกับ Google ค่าเริ่มต้นคือ “index, follow" (รวมถึง "all") และไม่จำเป็นต้องมีการระบุ เราเข้าใจค่าต่อไปนี้ (เมื่อระบุค่าหลายค่า ให้คั่นค่าด้วยเครื่องหมายจุลภาค)
    • noindex: ป้องกันไม่ให้จัดทำดัชนีหน้า
    • nofollow: ป้องกันไม่ให้ Googlebot ติดตามลิงก์จากหน้าเว็บนี้
    • nosnippet: ป้องกันไม่ให้แสดงตัวอย่างข้อมูลในผลการค้นหา
    • noodp: ป้องกันไม่ให้ใช้คำอธิบายสำรองจาก ODP/DMOZ
    • noarchive: ป้องกันไม่ให้ Google แสดงลิงก์ที่เก็บไว้สำหรับหน้าเว็บ
    • unavailable_after:[date]: คุณสามารถระบุเวลาและวันที่ที่แน่นอนที่คุณต้องการหยุดการรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนีของหน้านี้
    • noimageindex: ช่วยให้คุณระบุได้ว่าคุณไม่ต้องการให้หน้าเว็บปรากฏเป็นหน้าอ้างอิงสำหรับรูปภาพที่ปรากฏในผลการค้นหาของ Google
    • none: มีค่าเทียบเท่า noindex, nofollow
    ขณะนี้ คุณยังสามารถระบุข้อมูลนี้ในส่วนหัวของหน้าเว็บของคุณ โดยใช้คำสั่งส่วนหัว HTTP ของ "X-Robots-Tag" ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากคุณต้องการจำกัดการจัดทำดัชนีของไฟล์ที่ไม่ใช่ไฟล์ HTML เช่น กราฟิก หรือเอกสารประเภทอื่นๆ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมตาแท็กของ robots

    สารสนเทศ

    สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
    ระบบสารสนเทศ  คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, มนุษย์, กระบวนการ, ข้อมูล, เครือข่าย

    ระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย
    • ข้อมูล (Data) หมายถึง ค่าของความจริงที่ปรากฏขึ้น โดยค่าความจริงที่ได้จะนำมาจัดการปรับแต่งหรือประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
    • สารสนเทศ (Information) คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกตามกฎเกณฑ์ตามหลักความสัมพันธ์ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นมีประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น
    • การจัดการ (Management) คือ การบริหารอย่างเป็นระบบ เป็นการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการจัดการขององค์กรนั้น ซึ่งต้องมีการวางแผน กำหนดการ และจัดการทรัพยากรภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ขององค์กรนั้นๆ
    ระบบสารสนเทศ (Information System หรือ IS)  เป็นระบบพื้นฐานของการทำงานต่างๆ ในรูปแบบของการเก็บ (input) การประมวลผล (processing) การเผยแพร่ (output) และมีส่วนจัดเก็บข้อมูล (storage) ไว้ในรูปแบบต่างๆ

    ↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠


    สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการเชิงเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ภายใต้เงื่อนไข- การควบคุม- ข้อมูล -รูปแบบ -คำสั่งปฏิบัติการ -ความรู้ -ความหมาย- การสื่อความคิด- การรับรู้ -และการแทนความหมาย

    สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาด ปริมาณและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น

    ↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠

    เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์
    ↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠↠

    วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

    “การรักษาราชการแทน”กับคำว่า “การรักษาการในตำแหน่ง”

    สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
    คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สั่ง ณ วันที่ 3 เม.ย.2560

    ข้อ 1. ให้ยกเลิก คําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 10/2559เรื่อง การขับเคลื่อน การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 คําสั่ง ที่ 11 /2559 เรื่อง การบริหารราชการของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ลงวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 คําสั่งที่ 38 /2559 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งที่ 10/2559 และคําสั่งที่ 11/2559 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2559 คําสั่งที่ 1/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหา การบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะข้อ 8

    ข้อ 2 ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นกรรมการ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการและเลขานุการ




    การปฏิบัติราชการแทน /การรักษาราชการแทน /การรักษาการในตำแหน่ง

    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 หมวด 4 การปฏิบัติราชการแทน มาตรา 44-47 หมวด 5 การรักษาราชการแทน มาตรา 48-56 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 68

    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พุทธศักราช 2547 มาตรา 68 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ถ้าตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งใดว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปรักษาการในตำแหน่งนั้นได้

    ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่งให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมาย หรือมีคำสั่งของผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นๆเป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจและหน้าที่อย่างใดก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจและหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างรักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี

    พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 68 ในกรณีที่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญว่างลง หรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้และเป็นกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุตามมาตรา 57 มีอำนาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนที่เห็นสมควรรักษาการในตำแหน่งนั้นได้

    ผู้รักษาการในตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ให้มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่รักษาการนั้น ในกรณีที่มีกฎหมายอื่น กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี มติคณะกรรมการตามกฎหมายหรือคำสั่งผู้บังคับบัญชา แต่งตั้งให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ๆ เป็นกรรมการ หรือให้มีอำนาจหน้าที่อย่างใด ก็ให้ผู้รักษาการในตำแหน่งทำหน้าที่กรรมการ หรือมีอำนาจหน้าที่อย่างนั้นในระหว่างที่รักษาการในตำแหน่งแล้วแต่กรณี

    1. รักษาราชการแทน
    ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ได้แก่ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม จะต้องแต่งตั้งราชการให้เป็นผู้รักษาราชการแทน เช่น การแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ให้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม เป็นต้น


    2. รักษาการในตำแหน่ง

    ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง (ตำแหน่งว่าง) หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ ได้แก่ ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 10 ลงมา ที่มิใช่ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม, จะต้องแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่ง เช่น การแต่งตั้งราชการผู้หนึ่งผู้ใดไปรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการส่วน เป็นต้น (ผู้อำนวยการส่วนมิใช่หัวหน้าส่วนราชการ จะใช้คำว่ารักษาราชการแทนไม่ได้)

    3. ปฏิบัติราชการแทน
    อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ ที่ผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใด การมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นไปปฏิบัติราชการแทน เช่น อธิบดีมอบอำนาจให้รองอธิบดี, ผู้อำนวยสำนัก, ผู้อำนวยการกอง, เลขานุการกรม หรือผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการกอง มอบอำนาจให้ข้าราชการในสำนัก/กอง จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและผู้ที่ลงนามจะลงนามให้เป็นปฏิบัติราชการแทน และการมอบอำนาจนี้ จะมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นอีกต่อไปไม่ได้ ยกเว้น ระเบียบหรือกฎหมายนั้นๆ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ามอบอำนาจต่อได้


    4. ทำหน้าที่แทน / แทน
    ใช้เฉพาะเป็นการภายใน ไม่มีกำหนดไว้ในระเบียบ

    ที่มา : สวัสดิการสำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ. ระเบียบและกฎหมายในการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา : โรงพิมพ์ สกสค, 2554
    15 เม.ย. 2557 12:26

    วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

    อัพเกรด(Upgrade) และ อัพเดท (Update)

    สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....

    เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ..เลยเจาะลึกหาข้อมูลเพิ่มเติม เลยบางอ้อ..แบบนี้นี่เอง

    ระบบปฏิบัติการ Windows สิ่งหนึ่งที่จำเป็นอย่างมาก นั่นคือ การอัพเดท (Update) + อัพเกรด(Upgrade)
    Windows ให้ทันสมัย อยู่เสมอ ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งกับการป้องกันไวรัสและแก้ไขปัญหาของระบบให้มีความเสถียรมากขึ้น และให้สามารถรองรับและใช้งานร่วมกับซอฟแวร์ใหม่ๆ ได้อย่างไม่ติดปัญหา สิ่งเหล่านี้เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้คอมฯ ทุกคน ต้องทราบและติดตามศึกษาเรียนรู้ในวิทยาการใหม่ๆ อยู่เสมอ

    ข้อแตกต่าง ระหว่าง "อัพเกรด" กับ "อัพเดท" 

    อัพเกรด (Upgrade)

    คำว่าอัพเกรดในภาษาคอมพิวเตอร์ และรวมทั้งอุปกรณ์โมบายทั้งหลายจะมีความหมายในทำนองเดียวกัน นั่นคือ หมายถึง การปรับปรุงเวอร์ชั่นใหม่ กรณีนี้จะหมายถึงโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ใหม่ๆ โดยการอัพเกรด จะเป็นอะไรที่ต้องเปลี่ยนแปลงโปรแกรมค่อนข้างมาก
    • ตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานคำว่า อัพเกรด (Upgrade) หมายถึง ยกระดับ
    • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นั้นเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าตลอดเวลา บริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จะพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้นออกมาจำหน่าย  ด้านผู้ผลิตซอฟต์แวร์ก็จะแก้ไขปรับปรุงซอฟต์แวร์ให้มีสรรถนะสูงขึ้น ผู้ใช้จึงมีภาระในการปรับปรุงและอัพเกรดเพื่อคอมพิวเตอร์ของตัวเองที่ซื้อมาสามารถใช้งานได้ตามการเปลี่ยนแปลงทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์   เพื่อเป็นการยกระดับให้เครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    อัพเดท (Update)

    คำว่าอัพเดท หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมข้อมูลให้ทันสมัย แต่จะไม่กระทบส่วนใหญ่ของโปรแกรมหรือซอร์ฟแวร์ ตัวอย่างที่เราสามารถเห็นได้ชัดๆ คือ การอัพเดท Windows ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นหลักๆ
    • ตามศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานคำว่า อัพเดท Update) หมายถึง ปรับให้เป็นปัจุบัน 
    • การเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มข้อมูล เพื่อให่เป็นข้อมูลปัจจุบัน หรือการเปลี่ยนโปรแกรมที่ใช้อยู่ให้เป็นโปรแกรมรุ่นใหม่ หรือ หมายความว่า ทันสมัย ข้อมูลใหม่ๆ 

    ดังนั้น ไม่ว่าจะอย่างไร เราจำเป็นต้อง อัพเกรด(Upgrade) และ อัพเดท (Update) ซึ่ง วิธีการในการอัพเกรดนั้น ค่อนข้างมีกระบวนการที่มากว่าการอัพเดทธรรมดา เช่น การปรับรุ่น ในระบปฏิบัติการ windows 10 ซึ่งทาง Microsoft จะแจ้งให้ทราบในการปรับปรุงแต่ละครั้ง







    วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

    ในที่สุด Googleก็มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนโลก

    สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
    กำลังงง ว่า ทำไม ICT ถึงได้มีการรับเปลี่ยนเยอะ ...และ การพัฒนานวัตกรรม ของกูเกิล ไมโครซอฟท์ และแอปเปิล มันเกี่ยวอะไรกับพลังานทดแทนและภาวะโลกร้อน (หรือ มันจะแปลภาษมั่วๆวะ) ...ค้นไปค้นมา เลย ไปโผล่ที่กรีนพีช จึงได้เรื่องราวมาบอกต่อ ว่า มันไม่ได้แปลผิด วันี้มีเวลาเลยหาคำตอบ เพราะมันก็เกี่ยวกับการทำงานเป็นกิจวัตร แค่งานก็เยอะแล้วต้องมาหัวเสียกับทรัพยากรที่ไม่เสถียรอีก ...เลยได้ความมาว่า

    เมื่อ 4 ปีที่แล้ว  Google ได้เป็นผู้นำจัดหาพลังงานทดแทนและนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการขับเคลื่อนข้อมูล ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือพูดงายๆคือ การทำความสะอาดศูนย์ข้อมูล เพื่อลดผลกระทบต่อมลภาวะของโลกเพราะเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ปล่อยไอเสียดีเซลที่เป็นมลพิษจากศูนย์ข้อมูลที่มากขึ้นในแต่ละประเทศทั่วโลก ซึ่งมีโกดังดิจิตอลใช้พลังงานไฟฟ้าหลายพันล้านวัตต์  กิจกรรมทั้งหมดในดิจิตอลขณะนี้มีมากกว่าสามล้านศูนย์ข้อมูลขนาดแตกต่างกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกตามตัวเลขจากนานาชาติ Data Corporation โดยการศึกษาตัวอย่างประมาณ 20,000 เซิร์ฟเวอร์ในประมาณ 70 ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ทอดขอบเขตการค้า:เช่น บริษัท ยา, วิศวกรรม,ทหาร, ธนาคาร, บริษัท สื่อและหน่วยงานราชการทั่วโลก

    Google ได้แสดงให้เห็นว่าผลกระทบเหล่านั้นสามารถเป็นบวกถ้าพวกเขานำเราพลังงานที่สะอาดมาใช้มากขึ้น  อินเทอร์เน็ตสามารถเป็นเครื่องมือที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต  และใช้พลังงานที่สะอาด ลดมลพิษได้จริงถ้า บริษัท อื่น ทำตามผู้นำของ Google แต่น่าเสียดายที่ บริษัท เทคโนโลยีจำนวนมากกำลังที่อยู่ในยุคต้นแบบศตวรรษที่ 20 ที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาสิ่งแวดล้อม หนึ่งในคู่แข่งหลักของ Google ในการค้นหาอีเมลและระบบคลาวด์  ที่เห็นชัดเจนคือไมโครซอฟท์ ดังนั้น  Google จึงได้ประกาศความแตกต่างระหว่างการใช้พลังงานของทั้งสอง บริษัท ฯ นี้ ว่า Google  มีความมุ่งมั่นที่จะทำบางสิ่งบางอย่างในการทำความสะอาดศูนย์ข้อมูล ในขณะที่ไมโครซอฟท์ทำไม่ต่อเนื่องและมีการปกปิดการใช้พลังงาน ยังพบว่ามีการสร้างศูนย์ข้อมูลที่แนบมากับแหล่งที่มาของกระแสไฟฟ้าที่สกปรกเช่นถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่ Google จะทำบางสิ่งบางอย่างในการทำความสะอาด


    ดังนั้นจึงได้มีการหาแนวร่วมโดยการหารายชื่อ สนับสนุนและเรียกร้องให้ Microsoft และ ทุกบริษัท ที่อยู่เบื้องหลังอินเทอร์เน็ต ปฏิบัติตาม Google เพื่อพัฒนาการเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตโดยการใช้พลังงานธรรมชาติจากที่สะอาด เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสสำหรับทุกคน  
    http://www.greenpeace.org/international/en/news/Blogs/makingwaves/googles-new-wind-power-deal-shows-real-corpor/blog/42294/
    https://www.blognone.com/node/87934
    https://sites.google.com/site/geotechtangmo/kae-payha/phlangngan-thdthaen