(1) ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 80 คะแนน
(Structure, Vocabulary, Reading Comprehension, ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับงานศุลกา
(2) ความรู้เฉพาะตำแหน่ง คะแนนเต็ม 120 คะแนน
(2.1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับก
(2.2) ความรู้เกี่ยวกับการค้าระหว่างป
(2.3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิ
โอม...จง ....งง งง งง 2553 (5 ปี) พร้อมกับให้สินค้าจำนวน 150 รายการได้รับความยืดหยุ่นให้ลดภาษีเหลือ 0% ได้ถึงปี 2555 (7 ปี) - สินค้าอ่อนไหว(Sensitive Track): มีได้ไม่เกิน 400 รายการและไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าการนำเข้า ลดอัตราภาษีเหลือ 20% ในปี 2555 และมีอัตราภาษีสุดท้ายอยู่ที่ 0-5% ในปี 2561 - สินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive Track) จำนวนไม่เกิน 40% ของจำนวนรายการสินค้าอ่อนไหว หรือ 100 รายการของสินค้าอ่อนไหวทั้งหมด (แล้วแต่ว่าเงื่อนไขใดมีผลให้จำนวนรายการน้อยกว่า) จะต้องลดอัตราภาษีเหลือ 50% ในปี 2558 AJCEP ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ผู้นำประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น เห็นชอบให้มีการตั้งคณะกรรมการความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Committee on Comprehensive Economic Partnership: AJCCEP) เพื่อจัดทำกรอบงานความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (Framework for Comprehensive Economic Partnership between ASEAN and Japan) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น ให้แล้วเสร็จภายในปี 2012 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และปี 2017 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ AJCCEP ASEAN-Japan Committee on Comprehensive Economic Partnership คือคณะกรรมการความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศและญี่ปุ่น ทำหน้าที่เจรจาเปิดเสรี การค้าสินค้า บริการ การลงทุน และมาตรการต่างๆ ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น ประกอบด้วย ประธานร่วมฝ่ายญี่ปุ่น 4 คน จาก 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ส่วนประธานร่วมฝ่ายอาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ AKFTA ASEAN- Korea Free Trade Area คือ เขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ซึ่งผู้นำอาเซียนและเกาหลีได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี (the ASEAN-Republic of Korea (ROK) Joint Declaration on Comprehensive Cooperation Partnership) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เห็นชอบให้เริ่มการเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2005 และกำหนดให้สรุปผลเจรจาภายใน 2 ปี APT ASEAN Plus Three (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมืออาเซียนกับประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เริ่มขึ้นในปลายปี 2540 หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย มีการประชุมสุดยอดครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2540 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยความร่วมมือในสองสาขาหลัก คือ - สาขาเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ ความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การเงินการคลัง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม การพัฒนาทางด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์ สารสนเทศและวัฒนธรรม และการร่วมมือเพื่อการพัฒนา - สาขาการเมืองและอื่นๆ ได้แก่ ความร่วมมือด้านการเมือง-ความมั่นคง และประเด็นข้ามชาติ (Transnational Issues) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 ได้มีการลงนามในปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN Plus Three Summit) ซึ่งกำหนดให้กรอบอาเซียน+3 เป็นกลไกหลักที่จะนำไปสู่การจัดตั้ง EAC CEPEA Closer Economic Partnership for East Asia เป็นข้อเสนอของญี่ปุ่นในการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก ซึ่งประกอบด้วย อาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ หรือเรียกว่า ASEAN +6 EAC East Asia Community คือ ประชาคมเอเชียตะวันออก เป็นเป้าหมายระยะยาวของกรอบความร่วมมืออาเซียน+3 EAS East Asia Summit การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดอาเซียน+3 เมื่อปี 2547 ซึ่งผู้นำอาเซียน+3 เห็นพ้องว่า การจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (EAC) เป็นเป้าหมายระยะยาวของกรอบอาเซียน+3 และเห็นควรให้มีการจัดประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่มาเลเซีย โดยมี 16 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยมีการลงนามปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (Kuala Lumpur Declaration on the East Asia Summit) ซึ่งกำหนดให้ EAS เป็นเวทีสำหรับการหารือประเด็นทางยุทธศาสตร์ การเมือง และเศรษฐกิจที่เปิดกว้างและครอบคลุม EAFTA East Asia Free Trade Area คือ เขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออก โดยความคิดเริ่มต้นการจัดตั้ง EAFTA เกิดจากการประชุม ASEAN+3 ครั้งที่ 8 ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ซึ่งอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีการหารือความเป็นไปได้ในการสถาปนาเขตการค้าเสรีดังกล่าว โดย จีนและเกาหลี ผลักดันให้มีประเทศสมาชิกเพียงอาเซียน จีน เกาหลี และญี่ปุ่นเท่านั้น ในขณะที่ญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนของอินโดนีเซียและสิงคโปร์ ผลักดันให้รวมอินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เข้าอยู่ใน EAFTA ด้วย โดยเรียกว่า Closer Economic Partnership in East Asia (CEPEA) เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับจีน ERIA Economic Research Institute for ASEAN and East Asia เป็นข้อเสนอของญี่ปุ่นที่ให้มีการจัดตั้งองค์กรในลักษณะ OECD โดยทำงานร่วมกับสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อให้มีหน้าที่เป็น Policy Recommendation เพื่อรองรับการบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียนและอาเซียน+6 และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออก JTEPA Japan-Thailand Economics Partnership Agreement คือ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาอย่างเป็นทางการในการประชุม ASEAN-Japan Commemorative Summit ระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2546 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีการเจรจาอย่างเป็นทางการ รวม 9 รอบ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ประกาศการบรรลุความตกลงในหลักการเมื่อ 1 กันยายน 2548 หลังจากนั้นได้เจรจาตกลงในประเด็นรายละเอียดเสร็จสิ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และลงนามเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 ครอบคลุมความตกลงการค้าสินค้า บริการ การลงทุน รวมถึงความร่วมมือ เช่น ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม การบริการ การเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การท่องเที่ยว เป็นต้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าและบริการ ส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของกันและกัน ส่งเสริมให้มีการค้าไร้กระดาษ อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา เสริมสร้างการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขันที่ยุติธรรมและเสรี จัดตั้งกรอบความร่วมมือสองฝ่าย และส่งเสริมความโปร่งใส Advalorem Duties- ภาษีตามมูลค่า ซึ่งเก็บเป็นสัดส่วนร้อยละของมูลค่าสินค้า AQSIQ (General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine)- กระทรวงควบคุมและตรวจสอบกักกันโรคของจีน Asian Bond Market Initiative- Asian bond market initiative เป็นมาตรการที่อดีตนายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) เพื่อระดมเงินออมที่มีอยู่ในประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียมาใช้ในการลงทุนภายในภูมิภาค ผ่านการออกตราสารหนี้เอเชีย เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียให้มีศักยภาพอย่างแท้จริง จะมุ่งเน้นการออกพันธบัตรโดยหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย และออกในรูปสกุลเงินท้องถิ่น รวมทั้งมีสภาพคล่องสูง ตลอดจนมีการซื้อขายอย่างแพร่หลายในตลาดแรกและตลาดรอง ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย Bilateral Swap Arrangements- เพื่อพัฒนาและสร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจและความร่วมมือด้านการเงินในภูมิภาค ประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศอาเซียน+3 เห็นชอบให้สร้างเครือข่ายการเงินภายในภูมิภาคขึ้น เพื่อช่วยให้เกิดความคล่องตัวทางการเงินในระยะสั้นสำหรับประเทศสมาชิกในการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 (The ASEAN+3 Finance Ministers’ Meeting) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2543 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ BSA หากมีประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจหรือปัญหาความคล่องตัวทางการเงิน ประเทศนั้นจะสามารถยืมเงินจากอีกประเทศหนึ่งที่มีการตกลง BSA กันเพื่อแก้ปัญหาในระยะสั้น Concession- สิทธิพิเศษ Cooperation Mechanism- กลไกความร่วมมือ Countervailing Duties- อากรตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งเรียกเก็บเพื่อตอบโต้การสนับสนุนที่อาจเป็นการละเมิดต่อความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนภายใต้ WTO เช่นมาตรการต่าง ๆ ที่จะสนับสนุนการส่งออก เช่น การให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ผู้ส่งออกโดยตรงหรือการยกเว้นภาษีอากรวัตถุดิบ หรือการลดหย่อนภาษีเงินได้ของนิติบุคคลหรือโครงการอุดหนุนการส่งออกของประเทศ ฯลฯ Customs Clearance- การผ่านพิธีการทางศุลกากร FOB(Free on Board) -การคิดราคาสินค้าโดยที่ผู้ขายจะชำระค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าไปที่ท่าการขนส่ง และผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าอื่นๆทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เช่นค่าขนส่งสินค้า ค่าประกัน และค่าส่งสินค้าจากท่าไปยังโกดัง ฯลฯ Global Sourcing- การจักซื้อชิ้นส่วนจากทั่วโลกเพื่อใช้ในกระบวนการการผลิต G to G- การตกลงระหว่างภาครัฐกับภาครัฐ Harmonise- การที่ประเทศสมาชิกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีการใช้กฎระเบียบที่มีความสอดคล้องกัน Incubator program- ศูนย์บ่มเพาะ Joint Commission- คณะกรรมาธิการร่วม Joint Trade Committee- คณะกรรมการร่วมด้านการค้า Logistics- กิจกรรมต่างๆทั้งการเคลื่อนย้ายและไม่เคลื่อนย้ายในการลำเลียงสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งที่มีการบริโภค เช่น การขนส่ง และการสินค้าคงคลัง Memorandum of Understanding- บันทึกความเข้าใจ Modality-กรอบ รูปแบบ วิธี Non-official Organization- หน่วยงานที่ไม่ใช่รัฐ Safeguards Measures- มาตรการปกป้อง Semi-official Organization- หน่วยงานกึ่งรัฐ Tariff Binding Coverage- จำนวนรายการพิกัดภาษีศุลกากรที่ผูกพันภายใต้ WTO TRQ- Tariff Rate Quota- (โควตาภาษี) สินค้าที่ประเทศผู้นำเข้าผูกพันไว้ทั้งอัตราภาษี และปริมาณโควตาการนำเข้า โดยหากนำเข้าภายในปริมาณนำเข้าที่กำหนดไว้ จะเสียอัตราภาษีในโควตา แต่หากนำเข้าเกินกว่าปริมาณโควตาที่กำหนด ผู้นำเข้าจะต้องเสียอัตราภาษีนอกโควตา สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าที่เกินกว่าปริมาณโควตาที่ผูกพันไว้ ASEAN TNG (ASEAN Trade Negotiation Group) คือ คณะเจรจาการค้าอาเซียนประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ทำหน้าที่หารือและกำหนดท่าทีการเจรจาของอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน คณะเจรจาการค้า อาเซียน-จีน คือ คณะเจรจาการค้าอาเซียน-จีน ประกอบด้วย สมาชิกจากประเทศอาเซียนและจีน ทำหน้าที่เจรจาต่อรองการเปิดเสรีและความร่วมมือในด้านต่างๆที่กำหนดไว้ภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน EHP (Early Harvest Programme) คือ การลดภาษีสินค้าล่วงหน้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนก่อนการเปิดเสรีแบบเต็มรูปแบบ โดยเป็นการลดภาษีสินค้าล่วงหน้าที่ครอบคลุมการลดภาษีสินค้าภายใต้พิกัดศุลกากรที่ 01-08 (สินค้าเกษตรไม่แปรรูป) โดยเริ่มลดภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 และทยอยลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ในวันที่ 1 มกราคม 2549 สำหรับสินค้าที่มีมาตรการโควต้าภาษีซึ่งอยู่ภายใต้พิกัดดังกล่าว จะลดภาษีเฉพาะปริมาณที่อยู่ในโควตาเท่านั้น TIG (Agreement on Trade in Goods) คือ ความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ซึ่งความตกลงดังกล่าวระบุหลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าสินค้าภายใต้กรอบความร่วมมือฯอาเซียน-จีน ได้แก่ รายการสินค้าปกติ รายการสินค้าอ่อนไหว รูปแบบการลดภาษี รวมไปถึงข้อผูกพันและเป็นพันธกรณีที่สมาชิกภาคีทุกประเทศต้องปฏิบัติตาม เป็นต้น TIS (Agreement on Trade in Services) ความตกลงว่าด้วยการค้าบริการภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน NT (Normal Track) คือ รายการสินค้าที่อยู่ในกลุ่มสินค้าปกติ SL (Sensitive List) คือ รายการสินค้าอ่อนไหว หมายถึง สินค้าที่มีความอ่อนไหวและต้องการระยะเวลาในการปรับตัวนานกว่ากลุ่มสินค้าปกติ โดยจะมีเกณฑ์การลดภาษีที่ช้ากว่ากลุ่มสินค้าปกติ HSL (Highly Sensitive List) คือ รายการสินค้าอ่อนไหวสูง สินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงและต้องการระยะเวลาในการปรับตัวนานกว่ากลุ่มสินค้าปกติและกลุ่มสินค้าอ่อนไหว โดยจะมีเกณฑ์การลดภาษีที่ช้ากว่ากลุ่มสินค้าปกติและกลุ่มสินค้าอ่อนไหว OCP (Operational Certification Procedures) หมายถึง วิธีปฎิบัติภายใต้การออกหนังสือรับรอง
หมวด การค้าระหว่างประเทศ
เขตปลอดอากร (Free Zone) | |
เขตปลอดอากร (FREE ZONE)
เขตปลอดอากร หมายถึงเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
สิทธิประโยชน์ อ่านเพิ่มเติม...คลิกๆๆ
คำว่า “ราคาศุลกากร” หรือ “ราคา” แห่งของอย่างใดนั้น ในกรณีของนำเข้าหมายถึงราคาของสินค้า นำเข้าเพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร ปัจจุบันประเทศไทยใช้ราคาศุลกากรที่เรียกว่า “ระบบราคา แกตต์ (GATT Valuation)” ขององค์การศุลกากรโลก (World Trade Organization: WTO) ในการกำหนด ราคาสินค้าขาเข้าสำหรับการคำนวณค่าภาษีอากร อย่างไรก็ดีราคาซื้อขายของที่นำเข้านั้นอยู่ภายใต้ เงื่อนไขบางประการเช่น การซื้อขายผู้ซื้อกับผู้ขายต้องไม่มีความสัมพันธ์กัน หรือการซื้อขายนั้นต้องไม่มี เงื่อนไขอย่างอื่นอีก
การกำหนดราคาศุลกากรตามหลักการของแกตต์มี 6 วิธี ดังนี้
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1
ราคาซื้อขายของที่นำเข้าหมายถึงราคาซื้อขายที่ผู้ซื้อสินค้าได้ชำระจริงหรือ ที่จะต้องชำระให้กับผู้ขายในต่างประเทศสำหรับของที่นำเข้า ซึ่งได้มีการปรับราคาหรือได้นำมูลค่าหรือ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไปรวมด้วย เช่น ค่าวัสดุเสริม ค่านายหน้า หรือค่าสิทธิ เป็นต้น
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 2
ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน หมายถึงราคาซื้อขายของที่เหมือนกันทุกอย่าง เช่น ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพและชื่อเสียงซึ่งผลิตในประเทศเดียวกันและเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของ ที่กำลังประเมินราคา
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 3
ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน หมายถึงราคาซื้อขายของที่คล้ายกันกับของ ที่กำลังประเมินราคา เช่น วัสดุ ส่วนประกอบ และลักษณะ ทางกายภาพต่าง ๆ สามารถทำหน้าที่ได้ เหมือนกันต้องผลิตในประเทศเดียวกันและเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 4
ราคาหักทอน หมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาสินค้าที่กำลังจำหน่าย อยู่ในประเทศไทย โดยหักทอนค่าใช้จ่ายบางส่วนออกไป เช่น ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าภาษีอากรในประเทศไทย มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เกิดขึ้นจากการประกอบหรือผ่านกระบวนการเพิ่มเติม
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 5
ราคาคำนวณ หมายถึงราคาที่กำหนดขึ้นตามต้นทุนการผลิตของสินค้าที่ กำลังประเมินราคาบวกกับกำไรและค่าใช้จ่ายทั่วไปที่รวมอยู่ ตามปกติในการขายจากประเทศส่งออก
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 6
ราคาย้อนกลับ หมายถึง การกำหนดราคาโดยใช้วิธียืดหยุ่นของวิธีใด ๆ ก็ตามจากวิธีที่ 1-5 เพื่อให้สามารถกำหนดราคาสินค้าได้ คู่มือการปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมศุลกากร
ส่ายเอวแล้ว...คลิก
|
เพราะโลกหมุนไว จึงต้องหมั่นศึกษาฝึกฝนตามวิทยาการที่ก้าวไกล เพราะ 1 รอบชีวิตคนเรา มีเรื่องราวมากมาย บล๊อคนี้ จึงผสมผสานนานาสาระ
วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
รวมสาระ....ศุลกากร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)