วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2557

การทำข้อมูลเลื่อนชั้น ซ้ำชั้น จบ ย้ายออก สิ้นปีการศึกษา 2556

การทำข้อมูลเลื่อนชั้น ซ้ำชั้น จบ ย้ายออก สิ้นปีการศึกษา 2556

รายงานเด็กจบการศึกษาในปี 2556 นี้ต้องการให้ทำข้อมูลนักเรียนเลื่อนชั้น ซ้ำชั้น จบ ย้ายออกเป็นข้อมูลรายบุคคล โดยสถานะเด็กนักเรียนที่ต้องทำมีดังนี้
เลื่อนชั้น/จบการศึกษาเรียนต่อที่เดิม สำหรับนักเรียนที่ต้องการทำการเลื่อนชั้นและเรียนต่อที่โรงเรียนเดิมหลังจากสอบปลายภาค ปี 2556
ซ้ำชั้น สำหรับนักเรียนที่ต้องการทำการซ้ำชั้นเรียนต่อในโรงเรียนเดิมหลังจากสอบปลายภาค ปี 2556
จบการศึกษาออกจากโรงเรียน สำหรับนักเรียนที่เรียนจบแล้วออกจากโรงเรียนหลังจากสอบปลายภาค ปี 2556
ย้ายออก/ออกกลางคัน/จำหน่าย สำหรับนักเรียนที่เรียนจะย้ายออก/ออกกลางคัน/จำหน่ายออกจากโรงเรียนหลังจากสอบปลายภาค ปี 2556

วิธีการทำข้อมูล

1. ทำข้อมูลทุกคนในโรงเรียน โดยเลือกนักเรียนทีละชั้นทีละห้อง
2. เลือกสถานะนักเรียน ว่าจะให้เด็กเลื่อนชั้น,ซ้ำ,จบ หรือย้ายออก
3. ถ้าเลือกเลื่อนชั้น/จบการศึกษาเรียนต่อโรงเรียนเดิม ไม่ต้องระบุว่าไปศึกษาต่อที่ไหนหรือไปที่จังหวัดอะไร เพราะเรียนต่อที่รร.เดิม
4. ถ้าเลือกซ้ำชั้น ไม่ต้องระบุว่าไปศึกษาต่อที่ไหนหรือไปที่จังหวัดอะไร ให้ระบุว่าไม่ผ่านการประเมินในข้อไหนบ้างโดยการติ๊กแต่ละหัวข้อ 
ชั้นอนุบาล,เด็กโครงการแลกเปลี่ยนที่ไปเรียนต่างประเทศ,เด็กที่ซ้ำชั้นแต่ผ่านการประเมินทั้งหมดไม่ต้องติ้กสาเหตุ
เด็กที่รอแก้เกรดให้ทำการซ้ำชั้นโดยที่ไม่ต้องติ้กไม่ผ่านการประเมิน หากมีการแก้ไขเกรดแล้วจึงค่อยไปทำการแก้ไขชั้น/ย้ายออกหรือจำหน่ายในรอบ 10 มิ.ย. 2557 ต่อไป
5. จบการศึกษาออกจากโรงเรียนชั้นอ.2 ไม่ต้องเลือกช่องศึกษาต่อหรือไม่ ไม่ต้องเลือกว่าไปศึกษาต่อจังหวัดอะไร
6. จบการศึกษาออกจากโรงเรียนชั้นป.6, ม.3, ม.6 ให้เลือกในช่องศึกษาต่อหรือไม่ด้วย(ชั้นอื่นไม่ต้องเลือก)
7. จบการศึกษาออกจากโรงเรียนชั้น ป.6 ให้เลือกศึกษาต่อจังหวัดอะไรด้วยในช่องถัดไป(ชั้นอื่นไม่ต้องเลือก)
8. ย้ายออก/ออกกลางคัน/จำหน่าย เลือกแล้วไม่ต้องกรอกในช่องอื่นเช่นเดียวกับการเลื่อนชั้น
9. ใส่จำนวนปีที่เรียน (เป็นตัวเลขเท่านั้น) จำนวนปีที่เรียนจะนำไปทำรายงานจำนวนปีที่เรียน หากไม่กรอกข้อมูลก็จะไม่ได้รายงานนร.จบชั้นอนุบาล, ป.3, ป.6, ม.3, ม.6 และปวช. จำแนกตามเวลาที่ใช้เรียน
- อ. 2 เรียนปกติ 2 ปี (นับตั้งแต่เข้าเรียน อ. 1)
- ป. 3 เรียนปกติ 3 ปี (นับตั้งแต่เข้าเรียน ป.1)
- ป. 6 เรียนปกติ 6 ปี (นับตั้งแต่เข้าเรียน ป.1)
- ม. 3 เรียนปกติ 3 ปี (นับตั้งแต่เข้าเรียน ม.1)
- ม. 6 เรียนปกติ 3 ปี (นับตั้งแต่เข้าเรียน ม.4)
- ปวช. 3 เรียนปกติ 3 ปี (นับตั้งแต่เข้าเรียน ปวช.1)

ปล. การทำข้อมูลในหน้านี้สามารถบันทึกกี่ครั้งก็ได้ไม่ต้องยกเลิก แค่เปลี่ยนค่าแล้วบันทึกซ้ำเข้าไปใหม่เพราะเด็กไม่ได้เลื่อนชั้นและออกไปจากทะเบียนจริง แค่ทำการติ้กสถานะเพื่อนับทำรายงานสิ้นปีการศึกษา 2556 เท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2557

ประเพณีสงกรานต์


  • วันสังขานต์ล่อง หรือวันสังขารล่อง หรือวันสังกรานต์ล่อง
  • วันเน่าเป็นวันที่ ๒ ของปีใหม่เมือง
  • วันพญาวันเป็นวันที่ ๓ ของปีใหม่เมือง
  • วันปากปีเป็นวันที่ ๔ ของปีใหม่เมือง
  • วันปากเดือนเป็นวันที่ ๕ ของปีใหม่เมือง
  • วันปากวันเป็นวันที่ ๖ ของปีใหม่เมือง
  • วันปากยามเป็นวันที่ ๗ ของปีใหม่เมือง

ประเพณีสงกรานต์  เทศกาลสงกรานต์นี้ชาวล้านนาเรียกว่า ปเวณีปีใหม่หรือปาเวณีปีใหม่ (อ่าน"ป๋าเวนีปี๋ใหม่") ในช่วงเทศกาลนี้ซึ่งกินเวลา ๕ วัน ประชาชนจะหยุดงานทั้งสิ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระนี้ทั้งในแง่ศาสนาและพิธีกรรม โดยตลอด เทศกาลสงกรานต์ตามปฏิทินโหราศาสตร์ของชาวล้านนานั้น จะถือเอาวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษเป็น วันสังกรานต์ล่อง หรือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ตามประกาศของทางการเสมอไป (แต่ปัจจุบันนี้จะยึดตามประกาศของทางการ) เทศกาลนี้จะมีวันต่าง ๆ และมีพิธีกรรมและการละเล่นหลายอย่างที่ เกี่ยวข้องกัน ดังนี้

วันสังกรานต์ล่อง คือวันมหาสงกรานต์ ซึ่งออกเสียงแบบล้านนาว่า "สัง-ขาน" นี้คือวันที่พระอาทิตย์โคจรไปสุดราศีมีนจะย่างเข้าสู่ราศีเมษ ตามความเชื่อแบบล้านนากล่าวกันว่าในตอนเช้ามืดของวันนี้ "ปู่สังกรานต์" หรือ "ย่าสังกรานต์"จะนุ่งห่มเสื้อผ้าสีแดงสยายผมล่องแพไปตามลำน้ำ ปู่หรือย่าสังกรานต์นี้จะนำเอาสิ่งซึ่งไม่พึงปรารถนาตามตัวมาด้วย จึงต้องมีการยิงปืนจุดประทัดหรือทำให้เกิดเสียงดังต่าง ๆ นัยว่าเป็น "การไล่สังกรานต์" และถือกันว่าปืนที่ใช้ยิงขับปู่หรือย่าสังกรานต์นั้นจะมีความขลังมาก ตั้งแต่เช้าตรู่ของวันนี้จะมีการปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด มีการซักเสื้อผ้า เก็บกวาดและเผาขยะมูลฝอยต่าง ๆ มีการดำหัวหรือสระผมเป็นกรณีพิเศษ คือเมื่อสระผมแล้วก็จะต้องเงยหน้าไปตามทิศที่กำหนดไว้และทัดดอกไม้ที่เป็น นามของปีของแต่ละปี นุ่งห่มเป็นเสื้อผ้าใหม่ ฝ่ายพ่อบ้านก็จะนำเอาพระพุทธรูปพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่างๆ มาชำระหรือสรงด้วยน้ำอบน้ำหอมหรือ เปลี่ยนดอกไม้บูชาพระในแจกันใหม่ด้วย   ใน วันสังกรานต์ล่องนี้ ตามประเพณีโบราณแล้ว กษัตริย์แห่งล้านนาจะต้องทำพิธีสรงน้ำตามทิศที่ โหรหลวงคำณวนไว้ และจะลงไปทำพิธีลอยเคราะห์ในแม่น้ำเช่น ในแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง เป็นต้น ในวันนี้บางท่านก็จะเรียกลูกหลานมาพร้อมกล่าวคำมงคลแล้วใช้น้ำส้มป่อยลูบ ศีรษะตัวเองหรือลูกหลานทุกคน และบางท่านจะให้ ลูกหลานเอาฟักเขียวหรือฟักทองไปปลูกและใช้มูลควายตากแห้งเป็นปุ๋ยโดยบอก เด็กว่าปู่ย่าสังกรานต์พึงใจที่ได้เห็น ลูกหลานปลูกฟัก บ้างว่า ผู้ที่ปลูกฟักนั้นก็จะมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดด้วย สำหรับในเมืองใหญ่เช่นเชียงใหม่ นิยมจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองเช่นพระพุทธสิหิงค์และพระเสตังคมณี ไปตามถนนสายต่าง ๆ แล้วนำไปประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้เข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธรูปดัง กล่าวด้วย

วันเนา วันเนาว์ หรือ วันเน่า ในแง่ของโหราศาสตร์แล้ว วันนี้ควรจะเรียกว่า วันเนา เพราะเป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรอยู่ระหว่างราศีมีนและราศีเมษ อันเป็นวันที่ถัดจากวันสังกรานต์ล่อง แต่ในการออกเสียงแล้วทั่วไปมักเรียก"วันเน่า" ทำให้เกิดความคิดที่ห้ามการกระทำสิ่งที่ไม่เป็นมงคล โดยเฉพาะห้ามการด่าทอทะเลาะวิวาทกัน กล่าวกันว่าผู้ใดที่ด่าทอผู้อื่นในวันนี้แล้ว ปากของผู้นั้นจะเน่า และหากวิวาทกันในวันนี้ บุคคลผู้นั้นจะอัปมงคลไปตลอดปี ส่วนผู้ประสงค์จะปลูกเรือนด้วยไม้ไผ่ ก็ให้รีบตัดในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่าไม้จะ"เน่า"และไม่มีมอดหรือปลวกมากินไม้ดังกล่าว วันเนานี้จะเป็นวันเตรียมงาน ชาวบ้านจะพากันไปซื้อของเพื่อกินและใช้ในวันพญาวัน เมื่อถึงตอนบ่ายจะมีการขนทรายเข้าวัด กองรวมกันทำเป็น การขนทรายเข้าวัดนี้ถือว่าเป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าของตนออกจาก วัดซึ่งเสมอกับได้ลักของจากวัด วันเนานี้อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันดา เพราะเป็นวันที่ ดา หรือจัดเตรียม สิ่งของต่างๆ จะใช้ทำบุญนั่นเอง

วันพญาวัน เป็นวันเถลิงศกเริ่มต้นจุลศักราชใหม่ วันนี้เป็นวันที่มีการทำบุญทางศาสนาดัง ตั้งแต่เวลา เช้าตรู่ผู้คนจะนำเอาสำรับอาหารหวานคาวต่าง ๆ ไปทำบุญถวายพระตามวัด ทานขันเข้า (อ่าน"ตานขันเข้า") เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วด้วย บางคนอาจนำสำรับอาหารไปมอบให้แก่บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้ที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่า ทานขันเข้าคนเถ้าคนแก่ จากนั้นจะนำทุงหรือธงซึ่งได้เตรียมไว้ไปปักบนเจดีย์ทราย ทั้งนี้ มีคติว่าการทานทุง นั้นมีอานิสงส์ สามารถช่วยให้ผู้ตายที่มีบาปหนักถึงตกนรกนั้นสามารถพ้นจากขุมนรกได้ จากนั้นก็มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ในวันพญาวันนี้ บางท่านอาจจะเตรียมไม้ง่ามไปถวายสำหรับค้ำต้นโพ ถือคติว่าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการจะช่วยกันค้ำจุนพระศาสนาให้ยืนยาวต่อไป และจะมีการสรงน้ำทั้งพระพุทธรูป สถูปเจดีย์รวมทั้งสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ด้วย ในตอนบ่ายจะมีการไป ดำหัวหรือไปคารวะผู้เฒ่าผู้แก่บิดามารดา ญาติพี่น้องผู้อาวุโสหรือผู้มีบุญคุณหรือผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อเป็นการขอขมาและผู้ใหญ่ก็จะให้พร

วันปากปี ในวันนี้ ศรัทธาที่ไม่ไปที่วัดก็ จะไปเตรียมสถานที่ เพื่อทำบุญใจบ้าน คือบริเวณที่ตั้งของ เสาใจบ้านหรือสะดือบ้านบ้างเรียก แปลงบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บริเวณหอเสื้อบ้าน (อารักษ์หมู่บ้าน) ที่วัดตอนเช้าจะมีการทำพิธีปูชาเข้าลดเคราะห์ ปูชาเข้ายกเคราะห์ ปูชาเคราะห์ปีใหม่ ปูชาสระพระเคราะห์ เป็นต้น เชื่อว่าผู้ที่บูชาดังว่าในวันปากปี จะได้รับความคุ้มครองไปตลอดปี และชาวบ้านบางคนจะพากันไปดำหัววัด คือไปทำพิธีคารวะเจ้าอาวาสวัดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ด้วย

วันปากเดือน คือ  วันในลำดับที่ ๕ ของเทศกาล  ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นของเดือนใหม่ ในวันนี้นิยมมีการส่งเคราะห์ต่าง ๆ ตามแบบที่นิยมนับถือกันมาแต่โบราณ การส่งเคราะห์ที่ว่านี้มีหลายอย่าง เช่น ส่งชน, ส่งแถน, ส่งเคราะห์นรา เป็นต้น ส่วนการดำหัวนั้นก็จะดำเนินต่อไปจนครบตามต้องการ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้มีการละเล่นที่สนุกสนานหลายอย่าง เช่น เล่นหมากบ้าหรือการเล่นสะบ้า เล่นหมากคอนหรือการเล่นโยนลูกช่วง เป็นต้น แต่การเล่นที่สนุกที่สุกและมีเพียงช่วงเดียวในรอบปี คือ เล่นหดน้ำ ปีใหม่ หรือการเล่นรดน้ำในเทศกาลขึ้นปีใหม่นั่นเอง

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2557

ความคิด คือส่วนขยายของความรู้ และจำ

เบนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom อ้างถึงในอักษร สวัสดี 2542, 26-28) ได้ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1965 บลูมและคณะ ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการรับรู้หรือพุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคน ว่าประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นต่ำไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป โดยบลูมและคณะ ได้แจกแจงรายละเอียดของแต่ละระดับไว้ดังนี้
  1. ความรู้ หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิดวัตถุ และปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งง่าย ๆ ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
  2. ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (Comprehension) เป็นความสามารถทางสติปัญญาในการขยายความรู้ ความจำ ให้กว้างออกไปจากเดิมอย่างสมเหตุสมผล การแสดงพฤติกรรมเมื่อเผชิญกับสื่อความหมาย และความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  3. การนำไปปรับใช้ (Application) เป็นความสามารถในการนำความรู้ (knowledge) ความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด (comprehension) ในเรื่องใด ๆ ที่มีอยู่เดิม ไปแก้ไขปัญหาที่แปลกใหม่ของเรื่องนั้น โดยการใช้ความรู้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการกับความคิดรวบยอดมาผสมผสานกับความสามารถในการแปลความหมาย การสรุปหรือการขยายความสิ่งนั้น
  4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถและทักษะที่สูงกว่าความเข้าใจ และการนำไปปรับใช้ โดยมีลักษณะเป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย ที่มีความสัมพันธ์กัน รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ เพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่ อันจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริง
  5. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน อันเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ภายในขอบเขตของสิ่งที่กำหนดให้
  6. การประเมินผล (Evaluation) เป็นความสามารถในการตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยมีการกำหนดเกณฑ์ (criteria) เป็นฐานในการพิจารณาตัดสิน การประเมินผล จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สูงสุดของพุทธิลักษณะ (characteristics of cognitive domain) ที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์และการสังเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมินผลสิ่งหนึ่งสิ่งใด
ความรู้คือ สิ่งที่มนุษย์สร้าง ผลิต ความคิด ความเชื่อ ความจริง ความหมาย โดยใช้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตรรกะ แสดงผ่านภาษา เครื่องหมาย และสื่อต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เป็นไปตามผู้สร้าง ผู้ผลิตจะให้ความหมาย
สรุป ความคิด คือส่วนขยายของความรู้ และจำ ซึ่งการที่จะคิดและนำไปใช้ก็จำเป็นต้องมีความรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจำก่อน

กลวิธีสรรค์สร้างความจำให้ดีขึ้น

ใครที่รู้สึกว่าช่วงนี้เป็นคนขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ค่อยจะดี แถมความคิดสร้างสรรค์ก็ไม่บรรเจิดเลย วันนี้มีวิธีดี ๆ เพื่อเสริมสร้างความจำให้กลับมาแม่นยำ และผุดไอเดียฉลุย ๆ อยู่ตลอดมาแนะนำกันค่ะ
  • หาความรู้อยู่เรื่อย ๆ รู้แบบกว้างขวาง ไม่จำเป็นต้องรู้ลึกไปซะทุกอย่าง แต่ความรู้ที่สะสมมาจากทุกเรื่องจะช่วยต่อยอดกับข้อมูลใหม่ๆ ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
  • ควรให้เวลาสมองได้รับเรื่องตลก ๆ หรือได้คิดอะไรที่ไร้สาระบ้างเป็นการให้ความคิดของเราได้พักผ่อน
  • ฟังเพลงโมสาร์ท ก่อนนอนเปิดงานของโมสาร์ทฟังซักหนึ่งรอบ จะช่วยเรื่องความจำดีขึ้นได้
  • ลองทำสิ่งใหม่ ๆ จะได้มีแนวความคิดที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
  • รู้จักดัดแปลงความคิดสร้างสรรค์ มักจะเกิดขึ้นมาได้จากบางอย่างที่เราคุ้นเคย
  • หาเวลาที่เหมาะที่สุดกับการใช้ความคิดของเราในแต่ละช่วงวัน ที่มีสมาธิในการคิดมากที่สุด สำหรับงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์
  • จดไว้ให้จำ เครื่องช่วยจำที่ดีที่สุด คือ จดทุกอย่างลงในกระดาษเขียนไว้กันลืม
  • โยงเรื่องใหม่กับความจำเดิม ให้คิดซะว่าความคิดหรือความจำที่มีอยู่เดิมนั้นเหมือนกับตุ๊กตาที่ถูกแขวน ไว้กลางอากาศกำลังรอข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปปะติดปะต่อ อย่าปล่อยเรื่องใหม่เข้าไปอย่างไม่มีจุดเชื่อมโยง
  • คบเพื่อนที่ฉลาดมีความคิดกว้าง ๆ การที่ได้อยู่ใกล้กับคนที่มีความรู้ เป็นคนฉลาดที่เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอนั้น จะช่วยให้เราได้คิดตาม และฝึกสมอง
  • ฝึกจำอยู่บ่อย ๆ ถึงอายุอ่อนกว่าแค่ไหนแต่ถ้าไม่เคยฝึกท่องจำเลย ความจำก็อาจจะสู้คนแก่ไม่ได้
  • ออกกำลังกาย เพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนที่ไม่ใช่แค่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แต่หมายถึงสมองได้รับออกซิเจนมากขึ้นด้วย
  • เอาใจใส่ ถ้าเราใส่ใจกับคน ๆ นั้น หรือสิ่งนั้น เราจะจำได้มากกว่าที่เป็น
ที่มา: arcm.rmu.ac.th/kmcorner/?p=783

อุปสรรคของการสร้างความคิด




ารเพิ่มคุณค่าให้กับตนเองให้เป็นบุคคลที่มีบทบาททั้งในสังคมและองค์กร เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การที่มนุษย์หยุดคิด เท่ากับเป็นการหยุดพัฒนา หยุดความก้าวหน้าของตัวเอง ผู้ที่รักความก้าวหน้าในชีวิตย่อมต้องขวนขวานค้นหาและพัฒนาขีดความสามารถโดยเริ่มต้นจากพลังความคิด เพราะความคิดเป็นบ่อเกิดของสิ่งดี ๆ สิ่งใหม่ ๆ แก่สังคมโลก 



ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยคือการปิดกั้นทางความคิด จึงทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดนเฉพาะการไม่กล้าคิด ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งปรับปรุงและเปิดกว้างทางความคิด มิเช่นนั้นการพัฒนาความคิดก็จะหยุดชะงัก

อุปสรรคของการสร้างความคิด
  1. คิดไม่เป็น (Do not know how to think) – ไม่รู้จักคิดปรับปรุงอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเองหรือคนอื่น ๆ รวมถึงงานที่ทำอยู่ ต้องคอยรับคำสั่ง ต้องมีผู้คอยขีดเส้นให้เดินตามเส้น ไม่สามารถที่จะออกนอกเส้นทางได้ ไม่เช่นนั้นจะหลงทาง ทำอะไรไม่ถูก สมองจะไม่มีการคิดอะไรใหม่ ๆ ไม่เกิดการพัฒนาและเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง
  2. ไม่มีความรู้ (Uneducated) – ไม่มีความรู้ในที่นี้ หมายถึงความรู้ในเรื่องที่ถนัดหรือเฉพาะเจาะจงหรือเฉพาะทาง มนุษย์ทุกคนต่างก็ต้องมีความสามารถ มีความเก่งที่แตกต่างกันออกไป การที่เราไม่มีวามรู้ในเรื่องที่ทำ หรือความสามารถอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้ปิดกั้นความสามารถของตนเองโดยสิ้นเชิง
  3. ไม่มีวิสัยทัศน์ (Having no vision) – หรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอน จริงจัง รู้ว่าชีวิตนี้ต้องการอะไร ไม่ใช่ความคิดที่เพ้อฝัน แต่ต้องสามารถกระทำได้จริง
  4. ไม่ปรับปรุงตนเอง (Lack of improvement) – เท่ากับเป็นการลดระดับความสามารถของตนเอง ประเภทการทำงานประจำ (Routine) โดยมิได้มีความคิดหรือการพัฒนาอะไรใหม่ ๆ เพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพ จัดอยู่ในประเภททำงานเช้าชามเย็นชาม ไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมรอบข้าง
  5. ฉาบฉวย (Casual)  ทำงานไม่จริงจัง ไม่ตั้งใจ จัดในประเภทเก่งแต่พูด ไม่สามารถทำได้ตามที่พูด
  6. คดโกง (Incorruptible) – ในใจคิดแต่จะได้ ไม่ว่าจะอย่างไร สิ่งที่ตั้งใจไว้ต้องได้ แม้ว่าจะผิดศีลธรรมก็ยอม
  7. คับแคบ (Obsolete) มองใกล้ (Short sighted) ใฝ่ต่ำ (Bad tendency) – มองโลกในแง่ร้าย ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น สนใจแต่เรื่องของตัวเอง ทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองพ้นจากข้อตำหนิ กล่าวหา เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ใครจะเป็นอย่างไร ไม่สนใจ
  8. ไม่ทันสมัย (Out of time) – เป็นบุคคลที่ไม่ยอมรับรู้หรือยอมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีใด ๆ สอนแค่ไหน ก็ทำตามอยู่แค่นั้น ไม่มีการพัฒนาหรือต่อยอด ค้นคว้าความรู้ใหม่ ๆ 
  9. ไม่ยอมรับความจริง (Unrealistic) – ไม่วิเคราะห์หรือขาดกำลังใจ หากประสบปัญหาในการทำงาน เช่น ไม่ได้เลื่อนขั้น เป็นต้น จิตใจอาจจะหดหู่ ไม่อยากคิดอะไรแปลกใหม่