วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

อินเทอร์เน็ตและเกม

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552 : 69) ได้กล่าวไว้ว่า

เนื่องจากในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อเสรีที่นับวันจะเข้าถึงเด็กและเยาวชนมากขึ้น ซึ่งเป็นสื่อที่มีทั้งคุณและโทษในตัวเอง การปิดกันมิให้เด็กและเยาวชนให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ต จะเป็นการปิดโอกาสในการเรียนรู้และก้าวทันโลก แต่ในทางตรงกันข้ามหากปล่อยให้เด็กและเยาวชนเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตอย่างขาดสติ ก็อาจจะทาให้เกิดภัยต่อตัวเด็ก และเยาวชนได้อย่างมากมายเช่นกันในบทบาทของสถานศึกษา จาเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างรอบคอบรัดกุม โดยการสร้างความตระหนักในการเรียนรู้ วิธีการใช้สื่อการเลือกรับและการเรียนรู้จากสื่อย่างรู้เท่าทันชาญฉลาด จากการศึกษาถึงสาเหตุปัจจัยเสี่ยงพิษภัยของสื่อชนิดนี้ อาจสรุปได้ดังนี้

  1. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่มีขอบเขตจากัด จนเป็นผลทาให้สามารถควบคุมการบริโภคของผู้เรียนได้
  2. นักเรียนขาดวิจารณญาณในการบริโภคข่าวสารจากสื่ออินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบ การจัดแบ่งเวลาไม่เหมาะสม
  3. จานวนสถานบันเทิงที่มีจานวนมาก และการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นแรงจูงใจที่สาคัญ ทาให้นักเรียนมีความต้องการสูงและก่อให้เกิดปัญหาการหนีเรียน มั่วสุม
  4. สถาบันครอบครัว ไม่ค่อยมีเวลาว่างในการเอาใจใส่กวดขันในเรื่องการเรียนของบุตรหลาน เป็นผลให้เด็กและเยาวชนเหล่านั้น มีเวลามากเกินความจาเป็น
  5. การคบเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไม่สนใจในการเรียน ชอบหนีเรียนเพื่อไปมั่วสุมในร้านเกม

มาตรการป้องกันและแก้ไข
  1. อบรมให้ความรู้นักเรียนในการเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสาร ภัยจากสื่ออินเทอร์เน็ต หรือร้านเกม Online ที่เหมาะสมพอดีแก่เวลา
  2. จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสนใจ หรือสร้างแรงจูงใจในการแสดงออกทางด้านความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เช่น การประกวดสร้างเว็บไซต์ การสร้างเกมแบบง่ายด้านคอมพิวเตอร์
  3. ประสานความร่วมมือ ผู้ปกครอง เครือข่ายผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันกวดขัน ดูแล ตามแหล่งสถานบันเทิง ร้านอินเทอร์เน็ต ร้านเกม เป็นต้น
  4. ครูฝ่ายปกครองและครูที่ปรึกษา กากับ ติดตาม การมาเรียนของนักเรียนและประสานกับผู้ปกครองในการเดินทางไป –กลับระหว่างบ้านและโรงเรียน
  5. จัดให้บริการอินเทอร์เน็ตกับนักเรียนในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน และให้มีครูควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
  6. ดาเนินการนากลุ่มนักเรียนที่มีพฤติกรรมดังกล่าวมาอบรมให้ความรู้ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตและเกม อย่างไรจึงเหมาะสมและมีคุณค่า
  7. จัดตั้งอาสาสมัครนักเรียนคอยตรวจสอบเว็บไซต์ หรือจัดให้มีการติดตั้งโปรแกรมตรวจจับเว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์และแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทราบ (กระทรวง ICT) เพื่อดาเนินการแก้ไขต่อไป
  8. ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตารวจหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อติดตามตรวจสอบร้านอินเทอร์เน็ต ร้านเกม ที่ให้บริการนักเรียนในช่วงเวลาเรียน
  9. จัดกิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติที่ดีให้กับนักเรียน เกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต      ที่เหมาะสมและถูกต้อง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่ามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคมนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่ายตั้งแต่ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการด้านความปลอดภัยของโรงเรียน เจ้าหน้าที่ตารวจ จนถึงตัวของนักเรียนเอง จะสังเกตเห็นได้ว่า ปัญหาความรุนแรงที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่เจริญแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา เริ่มลุกลามเข้ามาในประเทศไทย ดังนั้นทุก ๆ ฝ่ายควรที่จะช่วยกันแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อตัวของนักเรียน ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

สวัสดี วันนี้ว่างๆ มีสิ่งดีๆมาฝาก.....
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน (2552 : 64) ได้กล่าวไว้ว่า

สภาพสังคมปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า สังคมไทยกาลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร สื่อสิ่งพิมพ์ลามกอนาจารทุกรูปแบบ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของเด็กวัยรุ่นก่อให้เกิดปัญหาทางเพศ และอาชญากรรมในที่สุด ซึ่งทางโรงเรียนไม่มีวิธีป้องกันดูแลอย่างทั่วถึง ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพครอบครัว สังคมและประเทศชาติ โดยเฉพาะในเรื่องสื่อลามกอนาจาร เป็นปัญหาของสถานศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งสามารถจาแนกสาเหตุได้พอสังเขป ดังนี้
  1. การแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจของกลุ่มนายทุน ที่ขาดคุณธรรมจริยธรรม ในสังคมในการผลิตและจาหน่ายสื่อลามกอนาจาร ซึ่งมีจาหน่ายแพร่หลายในท้องตลาดโดยขาดการควบคุมและบังคับใช้กฎหมาย
  2. กลุ่มผู้บริโภคสื่อโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ขาดจิตสานึกและวิจารณญาณที่ดีในการเลือกบริโภคข้อมูลข่าวสาร และสื่อบันเทิงต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย
  3. กลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้บริโภคสื่อลามกอนาจารไม่ได้รับการเลี้ยงดูอบรมเอาใจใส่ชี้แนะในการเลือกบริโภคที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง ครู ญาติพี่น้อง
  4. การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดเพียงพอ โดยเฉพาะตามแหล่งมั่วสุมสถานบันเทิงต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องปล่อยปละละเลย ในการควบคุมเผยแพร่สื่อลามก
  5. การไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกเกี่ยวกับเรื่องเพศ และการแสดงออกด้านความรักอย่างเปิดเผยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมจากสาเหตุของปัญหาดังกล่าวข้างต้นนั้น สถานศึกษาควรจัดมาตรการป้องกันและแก้ไขสื่อลามกอนาจาร โดยให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการนักเรียนในการเฝ้าระวังพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง การตรวจค้นกลุ่มเป้าหมาย ควบคุมดูแลการนาข้อมูลข่าวสารและสื่อบันเทิงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ไม่ให้เข้ามาเผยแพร่ในสถานศึกษา จัดกิจกรรมและเสริมสร้างค่านิยม ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม บูรณาการการสอนในเรื่องเพศศึกษา และจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องให้การตรวจตราควบคุมดูแล ตามแหล่งจาหน่ายและเผยแพร่ เพื่อส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบดาเนินการตามกฎหมายต่อไป